Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1410
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Related to Diabetic Foot Ulcer of Diabetic Patients : Primary Health Care Service Network in Prapradaeng, Samutprakan Province |
Authors: | อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ Anothai Palitnonkert Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health |
Keywords: | ผู้ป่วยเบาหวาน -- ไทย -- สมุทรปราการ Diabetics -- Thailand -- Samut Prakarn เท้า -- บาดแผลและบาดเจ็บ Foot -- Wounds and injuries. เบาหวาน Diabetes เท้า – แผลกดทับ Foot -- Ulcers |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ชนิดการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlatin research) เพื่อศึกษาสถานการณ์และระดับความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผนที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ได้รับการสุ่มจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จำนวน 10 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) การหาความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ ข้อมูลที่วิเคราะห์โดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1. การเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด ค่าคะแนน รวมเฉลี่ย เท่ากับ 1.08 (SD=.22) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเกิดแผลขาดเลือด อยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าคะแนนรวมเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 1.14 (SD=.19) ส่วนด้านการเกิดแผลติดเชื้อ อยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 1.01 (SD=.11)2. ปัจจัยด้านรอยโรคของเท้า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ทางลบ กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ และปัจจัยด้านพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (r=.50, -.19 และ .12 ตามลำดับ) This research is a descriptive study of the correlation research aims to study the situation and the risk levels of foot ulcers in patients with diabetes and factors associated with the incidence of diabetic foot ulcers in primary health network of Prapadaeng Samut Prakarn Province. The samples were diabetic patients who are prone to foot ulcers in primary health network of Prapadaeng Samut Prakarn Province. The participants were selected randomly from the health promoting hospital district. The sample size of 254 respondents were obtained from 10 of health promoting hospital district by multi-stage sampling. All questionnaires were tested for validity and reliability. Cronbach's alpha coefficient was used as a measurement to assess the reliability of the instruments. The results greater than 0.93 indicated acceptable reliability. The data were analyzed by frequencies, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient. Discussion of research finding:1. Ulcers on the feet of people with diabetes, the average score is 1.09 (SD=.00). When considering each aspect of ischemic lesions, the score is at the minimum level and the highest average score is 1.14 (SD=.19). In the incidence of wound infection, an average minimum score is 1.01 (SD=.11).2. From the lesions of the foot factor, there is a significantly positive correlation with the emergence of diabetic foot ulcers at the significance level of .05. The strength of a relationship is moderate. External factors are negatively correlated with the emergence of diabetic foot ulcers at the significance level of .05, and the correlation is low. Furthermore, behavioral factors have a significantly positive correlation with the emergence of diabetic foot ulcers at the significance level of .05. The correlation is fairly low (r=.50, -.19 and .12 respectively). |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1410 |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anothai-Palitnonkert.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.