Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1417
Title: แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะกรณีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
Other Titles: Public Service Management for Elderly Who Use Public Transport in Case of Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratcghamongkhon Line.
Authors: นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
Nutchanat Yuhanngoh
อรอาภา รุจิวรรธนะกุล
Onarpar Rujiwattanakul
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: วัยสูงอายุ
Old age
การขนส่งมวลชน
Transportation
รถไฟฟ้า
Electric railroads
การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
Universal design
องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
Thailand. The Metropolitan Rapid Transit System
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
Older people -- Care
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ พร้อมสำรวจความต้องการของผู้สูงอายุ และสำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิ/นักวิชาการ และผู้สูงอายุ ต่อแนวทางการปรับปรุงบริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้น รวบรวมข้อมูลทั้งหมดรวมทั้งข้อเสนอแนะนำมาสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิ/นักวิชาการและผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงบริการของผู้สูงอายุต่อไปจากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพ และเป็นข้าราชการบำนาญจึงมีแหล่งที่มาของรายได้จากเงินบำนาญเป็นส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดบริการในด้านความปลอดภัยมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจการจัดบริการในด้านเหรียญ/บัตรโดยสารลดราคา 50% ของอัตราค่าโดยสารปกติ ด้านการปรับปรุงบริการที่ผู้สูงอายุต้องการให้พัฒนาการจัดบริการให้มีประสิทธิภาพ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดบริการ2) ด้านคุณภาพการจัดบริการ 3) ด้านการประชาสัมพันธ์ และ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรซึ่งรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ควรพัฒนานโยบายการจัดบริการให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้สูงอายุซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมในอนาคตต่อไป
The purpose of this study was to study the satisfaction of ready to explore the needs of the elderly and a survey of service providers' opinions Expert/Academic and the elderly on service improvement guidelines for the elderly who use the Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line. The sample group is the elderly aged 60 years over who use the Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line. 400 people The questionnaire was used as a data collection tool. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, and standard deviation. Then, all data were collected, including recommendations, for in-depth interviews with the Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line. Expert/Academic and the elderly as a guideline to further improve services for the elderly. The study found that Most of the elderly aged between 60-69 years old who do not work And as pensioners, they are the main source of pension income. The elderly were most satisfied with the quality of safety services. They are satisfied with the service in terms of coins/tickets at a 50% discount of normal fares. There are 4 aspects of service improvement that the elderly need to improve service efficiency: 1) Service arrangement 2)quality arrangement 3) public relations, and 4) personnel development. Which the Metro Chaloem Ratchamongkhon Line. Should developed to meet the needs of the elderly. Which is important to society in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1417
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onarpar Rujiwattanakul.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.