Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1428
Title: | 汉泰语中“火”的认知隐喻对比研究 |
Other Titles: | การศึกษาเปรียบเทียบอุปลักษณ์ของคำว่า “ไฟ” ในภาษาจีนและภาษาไทย The Comparetive Study of Cognitive Metaphor of the Word "Fire" in Chinese and Thai. |
Authors: | 覃东生 Qin, Dongsheng 婉乐迪 วรรณฤดี จุ้ยด้วง Wanruedee Chuiduang |
Keywords: | ภาษาจีน -- การใช้ภาษา อุปลักษณ์ Metaphor ภาษาไทย -- สำนวนโวหาร Thai language -- Idioms ภาษาจีน -- สำนวนโวหาร Chinese language -- Idioms อุปมาอุปไมย 隐喻 汉语 -- 修辞 汉语 -- 语言使用 Chinese language -- Usage |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายโยงความหมายปลายทางของ “火” ในภาษาจีนและ “ไฟ” ในภาษาไทย รวมทั้งศึกษาภูมิหลังปัจจัยที่หมือนและแตกต่างกันที่สะท้อนผ่านอุปลักษณ์ไฟ โดยใช้แนวคิดกระบวนการทางความหมาย ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมคำศัพท์และสำนวนจากพจนานุกรม หนังสือ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งในภาษาไทยและภาษาจีนผลการศึกษาพบว่า คำศัพท์และสำนวนจีนที่มีคำว่า “火” ประกอบ มีจำนวน 228 ตัวอย่างคำศัพท์และสำนวนไทยที่มีคำว่า “ไฟ” ประกอบ มีจำนวน 102 ตัวอย่าง เมื่อวิเคราะห์ความหมายต้นทางของ “火” และ “ไฟ” ตามพจนานุกรม จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของไฟผ่านกระบวนการอุปลักษณ์ของทั้งสองภาษาเกิดขึ้นจากความหมายต้นทางเดียวกัน โดยมีการนำลักษณะเด่นของไฟ เช่น สี ขนาด ความสามารถ และการเคลื่อนที่ อธิบายถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม 4 ลักษณะ คือ 1) สภาพการณ์ 2) สภาพอารมณ์ 3) ลักษณะบุคคล 4) สิ่งที่มนุษย์กระทำขึ้น โดยปรากฏเป็นความหมายปลายทางในภาษาจีน จำนวนทั้งสิ้น 26 ชนิด และในภาษาไทย จำนวนทั้งสิ้น 20 ชนิด ทั้งนี้ความหมายปลายทางที่ทั้งสองภาษามีเหมือนกันมักถูกเชื่อมโยงไปถึงสภาพการณ์และอารมณ์ อันเป็นผลมาการรับรู้ผ่านประสบการณ์การทางร่างกายของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ส่วนความหมายปลายทางที่ทั้งสองภาษามีแตกต่างกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเพศ สังคม วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความรู้ความเชื่อพื้นถิ่นที่ไม่เหมือนกัน อนึ่ง อุปลักษณ์มโนทัศน์ที่เหมือนและแตกต่างกันนี้สะท้อนให้เห็นว่าคำ ๆ เดียวกันเมื่ออยู่ในภาษาที่ต่างกัน ผู้ใช้ภาษามีพื้นฐานประสบการณ์และแนวคิดที่ต่างกัน ความหมายของคำจึงไม่อาจเหมือนกันได้ทั้งหมด การตีความทางภาษาจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจบริบทต่างๆเหล่านี้ อันจะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและการศึกษาภาษาจีนและภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น The purpose of this research was to study and compare the target domains of “火” in Chinese and “ไฟ” in Thai, as well as the similar and different background factors reflected through the metaphor of fire. Using the conceptual metaphor theory as a guide, the researcher has included the word and idioms from dictionaries, books, and related documents in Thailand and overseas. From the study, there are 228 examples of Chinese words containing the word “火”, and 102 examples of Thai words containing the word “ไฟ”. It was found that the change in the meaning of fire through the metaphorical process of both languages occurred from the same source meaning. The source domain comes from fire characteristics like size, color, ability, and movement that can be used to explain abstract concepts in four different ways: situational domain, emotional domain, personality domain, and human action domain. In Chinese, it shows up as the target domain. 26 metaphors in total, including 20 metaphors in Thai. Similarities develop from human experiences via the human body, but differences develop from conceptions of sex, society, culture, and ways of living. In addition, the same word when in different languages Language users have different backgrounds, experiences, and ideas. Therefore, the meaning of the words may be different. Understanding theses contexts will be helpful in teaching and studying Chinese and Thai languages more efficiently. 本论文的研究目的,主要是对汉语“火”与泰语“ไฟ”的认知隐喻机制和词语演变路径进行对比,找出二者的异同之处,并探究“火”隐喻的相同点和不同点的成因。本论文基于概念隐喻理论,从字典和相关文件中收集了汉语和泰语跟“火”相关的隐喻现象。研究发现,汉语中包含着隐喻意义的“火”类词有228个,泰语中包含着隐喻意义的“ไฟ”类词有102个。根据汉语“火”和泰语“ไฟ”的词典释义,发现汉、泰两种语言对“火”的认知基本是同一个对象,词义演变的路径都是由具体的“火”,比如颜色、形状、功能、运动等几个特征引申到了抽象的事情,并提出“火”隐喻的4大方面:1)状态域、2)情感域、3)人类域、4)宗教信仰及风俗习惯域。从火这个始源域,汉语“火”的隐喻投射有26个目标域,泰语“ไฟ”的隐喻投射有20个目标域,其中12个目标域是二者共享的。对于汉、泰语共有和特有的“火”的概念隐喻,相似隐喻的成因主要是由人的身体体验组成的,而相异隐喻的成因主要是由地理环境、国家历史、宗教信仰等因素组成的。因此,“一个词语在不同的语言,它的意思就不能完全相同”,虽然“火”隐喻的过程中能将抽象的事情变成得更具体,同时还将一个简简单单的词语能表达得更丰富,但是因中泰人民具有语言运用、生活环境、各地人民的宗教及思想等几个背景不同人们的认知隐喻也不同。本论文研究汉泰语中“火”与“ไฟ”的认知隐喻对比研究会补充不足的地方,从词义演变掌握了两国概念的同异点,帮助汉、泰学习者更了解两国的文化与思想。 |
Description: | Thesis (M.A.) (Teaching Chinese) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2023. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1428 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanruedee Chuiduang.pdf Restricted Access | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.