Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล-
dc.contributor.authorกัญญ์วรา ดิสสรา-
dc.date.accessioned2023-12-07T12:17:32Z-
dc.date.available2023-12-07T12:17:32Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1457-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548-
dc.descriptionการศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “ธุรกิจเงินกู้นอกระบบและการจัดการหนี้สินนอกระบบของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาการนำเงินกู้นอกระบบไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาการจัดการหนี้สินของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจเงินกู้นอกระบบและผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้แนะนำที่อยู่ในธุรกิจเงินกู้นอกระบบเป็นผู้พาไปสัมภาษณ์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมี 30 ราย แบ่งเป็นผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบ จำนวน 10 ราย ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบจำนวน 20 ราย จาก 5 อาชีพๆ ละ 5 รายคือ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 5 ราย ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 5 ราย ผู้ประกอบอาชีพรับราชการ จำนวน 5 ราย และผู้ประกอบอาชีพค้าขาย จำนวน 5 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่ให้บริการเงินกู้นอกระบบอยู่แล้ว โดยบางรายสืบทอดธุรกิจเงินกู้นอกระบบมาจากบรรพบุรุษผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงธุรกิจที่ต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะเป็นผู้ที่รับซื้อผลิตผลทางการเกษตรของผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเกษตรกรผู้นั้นก็จะขอรับบริการเงินกู้จากผู้ให้บริการเงินกู้รายนั้น และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็จะมีการชำระคืนหลังจากนั้นก็กู้ยืมใหม่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบก็จะมีการขอรับบริการเงินกู้นอกระบบจากญาติพี่น้องด้วยเช่นกัน วงเงินที่ผู้ให้บริการเงินกู้จะให้กู้ยืมนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระคืนของผู้รับบริการแต่ละรายไม่เท่ากัน วงเงินที่ขอรับบริการจะเริ่มตั้งแต่ 30,000 - 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 10 บาท ต่อเดือน ระยะเวลาการชำระคืนเป็นไปตามลักษณะของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าหากผู้รับบริการเงินกู้มีปัญหาในการชำระคืนก็สามารถประนีประนอมกันได้ และในการกู้ยืมก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ไม่ต้องมีคนค้ำประกันและขั้นตอนไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อนสามารถรับเงินได้ในเวลาอันรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบไม่ค่อยประสบปัญหาในการให้ บริการเงินกู้ เนื่องจากเมื่อถึงกำหนดเวลาผู้รับบริการเงินกู้ก็จะนำเงินมาชำระคืน หรือถ้าบางรายที่ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ทั้งหมดก็จะขอผ่อนชำระแทนทั้งนี้ก็เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนเดียวกันผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบส่วนมากจะนำเงินที่กู้มานี้ไปใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม ค้าขาย และใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นทุนด้านเกษตรกรรม ไม่มีการนำเงินกู้ที่ได้มาใช้จ่ายเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกหรือซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอาจจะมีบ้างที่บางรายเคยรับบริการเงินกู้นอกระบบมาเพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ แต่ซื้อมาเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน เนื่องจากการคมนาคมของอำเภอคลองหลวงการให้บริการด้านการคมนาคมของภาครัฐยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง จึงจำเป็นเกือบทุกครัวเรือนที่จะต้องมียานพาหนะเป็นของตนเองผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบบางรายจะมีการกู้เงินจากแหล่งเงินทุนหลายแห่ง เช่น สหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตามการชำระคืนของแหล่งเงินทุนที่ขอรับบริการจะมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งผ่อนชำระคืนด้วยวงเงินที่ไม่มากผู้รับ บริการเงินกู้สามารถชำได้โดยไม่มีปัญหา ผู้รับบริการเงินกู้นอกระบบส่วนใหญ่ได้พยายามผ่อนชำระเงินที่ได้กู้ยืมมาให้หมด แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เมื่อชำระเงินกู้ยืมหมดแล้วก็ยังจำเป็นจะต้องกู้ซ้ำอีกเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพครั้งต่อไป จึงเป็นการยากที่ผู้รับบริการเงินกู้กลุ่มนี้จะหลุดพ้นจากสภาวะการเป็นหนี้นอกระบบ ผู้วิจัยได้เสนอแนะหน่วยงานรัฐบาลถึงบทบาทเกี่ยวกับธุรกิจเงินกู้นอกระบบซึ่งธุรกิจเงินกู้นอกระบบนั้นมีลักษณะของการแข่งขันกับตลาดเงินในระบบเนื่องจากการกู้ยืมเงินในระบบนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีความล่าช้า ใช้เวลาในการพิจารณาเพื่ออนุมัตินานไม่ทันกับความต้องการของการใช้บริการเงินกู้ 1. ควรมีการเร่งพัฒนาการขยายตัวของระบบการเงินของสถาบันการเงินในระบบให้เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับปรุงการให้สินเชื่อแก่ภาคเกษตรกรรมในการสนองตอบความต้องการของประชาชน ลดขั้นตอน หลักเกณฑ์การพิจารณาลง 2. พึ่งตนเองโดยกลุ่มแทนตัวบุคคล เช่น ร่วมกันออมในรูปสหกรณ์ออมทรัพย์หรือกลุ่มออมทรัพย์ 3. ควรปรับปรุงระบบกองทุนหมู่บ้านให้สารถดึงคนที่กู้เงินนอกระบบมาใช้บริการให้มากขึ้นth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการกู้ยืมth
dc.subjectLoansth
dc.subjectการกู้ยืมส่วนบุคคลth
dc.subjectLoans, Personalth
dc.subjectการเงินนอกระบบth
dc.titleธุรกิจเงินกู้นอกระบบและการจัดการหนี้สินของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีth
dc.title.alternativeNon-Institutional Credit and People's Debt Management : A Case Study in Klongluang District, Pathumthani Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanwara-Dissara.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.