Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1460
Title: ทัศนคติในการเลือกซื้อบ้านของประชากรในเขตบางนาจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Attitudes toward Purchasing Houses of People in Bangna District, Bangkok
Authors: สถาพร ปิ่นเจริญ
สุนีย์ ตั้งตามนิมิต
Keywords: การซื้อบ้าน -- การตัดสินใจ
House buying -- Decision making.
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
บ้าน
Houses
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ เริ่มมาจากปัญหาเศรษฐกิจในปี 2548 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก ทำให้ต้องการศึกษาทัศนคติของประชากรว่ามีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไปในทิศทางใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของประชากรในการเลือกซื้อบ้าน เพื่อศึกษาถึงความต้องการในการเลือกซื้อบ้าน และเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน โดยใช้การสอบถามและเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 ตัวอย่าง จากประชากรที่ทำงานและมีสำมะโนครัวในเขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร วิธีการเลือกตัวอย่างที่ใช้ คือ การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก แล้วนำไปประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา และหาค่าต่าง ๆ รวมถึงค่าสถิติไคสแควร์ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี กลุ่มคนโสด เป็นพนักงานบริษัท และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000-20,000 บาททัศนคติในการเลือกซื้อบ้าน ส่วนใหญ่เลือกบ้านเดี่ยว งบประมาณที่ต้องการซื้อนั้นอยู่ระหว่าง 500,000-1,000,000 บาท และยังคงเลือกทำเลในกรุงเทพมหานคร วิธีการส่งเสริมการขายที่ต้องการสูงสุดของกลุ่มตัวอย่างนี้ คือ หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดยจะชะลอการซื้อบ้านไว้ก่อน จึงเลือกตอบมากกว่า 3 ปีสูงที่สุด ผลกระทบในเรื่องปัจจัยที่ทำให้ต้องชะลอการซื้อบ้าน เรียงตามลำดับ การเลือกมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้ว่า 1) ปัจจัยเรื่องเงิน 2) ค่าครองชีพเท่าเดิม 3) ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวสูงขึ้น 4) มีสิ่งอื่นที่จำเป็น 5) สิ่งของอุปโภคบริโภคปรับราคา และ 6) ราคาน้ำมันแพง เป็นลำดับสุดท้าย ส่วนปัจจัยในการเลือกซื้อบ้านเพื่อที่อยู่อาศัย จัดเรียงลำดับ ความสำคัญจาก การเลือกมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้ว่า 1) ความปลอดภัย 2) การคมนาคมสะดวก 3) ราคา/เงื่อนไข การชำระเงิน 4) รูปแบบบ้าน/พื้นที่ใช้สอย 5) ใกล้แหล่งอำนวยความสะดวก 6) สภาพแวดล้อมรอบ ๆ โครงการ 7) สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ 8) ใกล้บ้านเดิม/ใกล้ที่ทำงาน 9) ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของโครงการ และ 10) การบริหารโครงการ เป็นลำดับสุดท้ายจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกทำเลบ้านที่ต้องการซื้อ ทั้งเพศชายและเพศหญิงเลือกทำเลกรุงเทพมหานครเป็นอันดับ 1 ซึ่งเป็นทำเลเดิม ช่วงอายุไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกระยะเวลาที่คิดจะซื้อบ้าน ทุกช่วงอายุจะเลือกซื้อบ้านเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปีขึ้นไปสูงสุด อาชีพมีผลต่อทัศนคติในการเลือกลักษณะบ้านที่ต้องการซื้อ พนักงานบริษัทมี แนวโน้มเลือกทาวน์เฮ้าส์เป็นอันดับที่ 2 ข้าราชการและคนทำธุรกิจส่วนตัวมีแนวโน้มเลือกอาคารพาณิชย์เป็นอันดับที่ 2 ในทางกลับกันพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างชั่วคราว จะไม่เลือกอาคารพาณิชย์เลย งบประมาณที่ต้องการซื้อมีผลต่อทัศนคติในการเลือกระยะเวลาที่คิดว่าจะซื้อบ้าน การเลือกสูงสุดทั้ง 3 ช่วงเวลา อยู่ที่งบประมาณระหว่าง 500,000 – 1,000,000 บาท เพศไม่มีผลต่อ ทัศนคติในการชะลอการซื้อบ้านทั้ง 6 ปัจจัยเลย อายุมีผลต่อปัจจัยเรื่องความปลอดภัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกซื้อบ้านเพื่อที่อยู่อาศัย 3 จาก 10 ปัจจัย คือ 1) รูปแบบบ้าน/ พื้นที่ใช้สอย 2) การคมนาคมสะดวก และ 3) ความปลอดภัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อทัศนคติในการเลือกซื้อบ้านเพื่อที่อยู่อาศัย 7 จาก 10 ปัจจัย คือ 1) ราคา/เงื่อนไขการชำระเงิน 2) ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของโครงการ 3) ใกล้แหล่งอำนวยความสะดวก 4) ใกล้บ้านเดิม/ใกล้ที่ทำงาน 5) ภาพแวดล้อมรอบ ๆ โครงการ 6) สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ และ 7) การบริหารโครงการ ทำเลที่ตั้งไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกซื้อบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยทั้ง 10 ปัจจัยเลย ลักษณะบ้านที่ต้องการซื้อ งบประมาณที่ต้องการซื้อ และการส่งเสริมการขายมีผลต่อปัจจัยเรื่องเงิน ลักษณะบ้านที่เลือกซื้อไม่มีผลต่อทัศนคติในการชะลอการซื้อบ้าน 1 จาก 6 ปัจจัย คือ สิ่งของอุปโภคบริโภคปรับราคาเพียงปัจจัยเดียว ลักษณะบ้านที่เลือกซื้อมีผลต่อทัศนคติในการชะลอการซื้อบ้าน 5 จาก 6 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยเรื่องเงิน 2) ราคาน้ำมันแพง 3) ค่าครองชีพเท่าเดิม 4) ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับตัวสูงขึ้น และ 5) มีสิ่งอื่นที่จำเป็น
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1460
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee-Tangtamnimitr.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.