Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/147
Title: | วิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว พ.ศ. 2553-2558 |
Other Titles: | An Analysis of Reflections of Thai Society and Environment in Green Globe Institution Awarded Novels during 2010- 2015 |
Authors: | รัชนีพร ศรีรักษา Zhou, Yanyan Ruchaneeporn Sriruksa Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ ปัญหาสิ่งแวดล้อม วรรณกรรมกับสังคม รางวัลลูกโลกสีเขียว Thai fiction -- History and criticism Literature and society การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) ชาวชนบท -- ไทย Peasants -- Thailand ไทย -- ภาวะสังคม Thailand -- Social conditions สังคมไทย |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว และเพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว พ.ศ. 2553-2558 จำนวน 5 เล่ม ซึ่งมีเรื่องราวกล่าวถึงวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนบทที่มีความผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่าในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวได้แสดงให้เห็นภาพสะท้อนสังคมและสิ่งแวดล้อมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ภาพสะท้อนสังคมไทย แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่อยู่อาศัยมี 4 ลักษณะ คือ อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ การใช้วัสดุจากธรรมชาติ ห่างไกลจากตัวเมือง และการสร้างที่อยู่อาศัยตามฐานะทางสังคม การประกอบอาชีพพบมีอาชีพชาวประมง ทำการเกษตร และการรับจ้าง อาหารการกินพบว่ามีอาหารที่มาจากธรรมชาติและอาหารที่ผ่านการปรุงแต่ง ส่วนขนบธรรมเนียมประเพณีพบว่า มีประเพณีลอยกระทง ประเพณีทำขวัญข้าว ประเพณีเข้าสุหนัต และประเพณีการแข่งขันกีฬาตกปลา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ที่พบ คือ ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเข้มแข็ง และการแบ่งปัน 2) ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ยังมีความสมบูรณ์ ทั้งในชุมชน ในทะแล ในป่า และในลุ่มน้ำ มนุษย์สัตว์และพืชพรรณต่าง ๆ ได้ใช้เป็นแหล่งหากินและดำเนินชีวิตเชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืน 3) ชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์เงาะกับสิ่งแวดล้อมไทย พบว่า กลุ่มชาวเงาะดำรงชีวิตพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารการกินปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมพบว่ามี 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ เช่น พันธุ์สัตว์น้ำจำนวนลดลง มนุษย์ใช้วิธีไม่ถูกต้องในการจับสัตว์น้ำ ป่าชายเลนถูกทำลาย และปัญหาเกิดจากการสร้างเขื่อน 2) ปัญหาสิ่งแวดล้อมในป่า ซึ่งเกิดจากการปลูกต้นยูคาลิปตัสและการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช จึงทำลายป่าธรรมชาติ 3) ปัญหามลพิษทางน้ำและมลพิษทางอากาศ ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา คือ การตั้งกลุ่มอนุรักษ์ ปลูกป่าชายเลน และตั้งกฎระเบียบอนุรักษ์สัตว์น้ำ การตระหนักในความสำคัญและสร้างจิตสำนึกต่อคุณค่าของสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มต้นจากตนเอง และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม This research aimed to analyze reflections of Thai society and environmental problems and solutions reflected in five novels awarded Green Globe Institution, during 2010-2015. Stories of rural ways of life, binding to nature and environment were main points of the novels studied. Three aspects of Thai society and environment were reflected in the studied novels, as the following. 1) Reflections of Thai society, including housing; careers; food; traditions; and moral. Housing, four aspects were presented, which were close to the nature; made from natural materials; remote from cities; and reflected social statuses of dwellers. Careers as fishermen; farmers; and labors were related. Two types of food, natural and commercial, were presented. Traditions, relating to beliefs; careers; religions; and recreations were noted. Mentioned traditions were Loy Kratong; Commendation of Rice; Circumcision ceremony; and Fishing competition. For moral, generosity; sacrifice; responsibility; steadfastness and sharing were observed. 2) Reflections of humans and nature relativity, including nature as the resource of food; and nature as ecosystem supporting all creatures and plants. 3) The ethnic group of Ngor and the nature, which were depicted as a natural depending life style. Relating to environmental problems, three areas were reflected which were: 1) Marine environment, focusing on the decrease of aquatic animals because of free fishery, the ruin of estuary forest and Construction of dams. 2) Ecosystem of the forest, relating problems of Eucalyptus planting and using of pesticides. 3) Water and air pollutions. Proposed solutions included forming forest preservation groups; planting estuary forest; setting rules and regulations for preservation of aquatic animals; creating awareness of importance and values of environment, participating by local people. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2564 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/147 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ZHOU-YANYAN.pdf | 8.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.