Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1489
Title: ความรู้ สิ่งสนับสนุน และการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: Knowledge, Supporting Facilities and Practice of Professional Nurses Against Nosocomial Infection in Hua Chiew Hospita
Authors: เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล
กัลยาณี อ้างสกุล
Keywords: โรงพยาบาลหัวเฉียว
Hua Chiew Hospital
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
Nosocomial infections
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ สิ่งสนับสนุนและการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล หัวเฉียวจำนวน 166 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2548 ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือในส่วนของความรู้และการปฏิบัติได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าความรู้ และการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลหัวเฉียวอยู่ในระดับดี ปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุนในการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลหัวเฉียวอยู่ในระดับดีมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในภาพรวมพบว่าระดับความรู้และสิ่งสนับสนุน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แต่ละด้าน พบว่าความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และความรู้ด้านการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ปัจจัยทางชีวสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ควรมีการศึกษาความรู้ และการปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของบุคลากรในทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และพยาบาลวิชาชีพควรมีการอบรมเพิ่มเติมความรู้เป็นประจำ
The objective of this study was to reveal the relationship between knowledge, supporting facilities and practice of universal precaution in Hua Chiew Hospital. A number of 116 professional nurses participated in the questionnaire interview during July-August, 2005. Results showed that the level of knowledge regarding universal precaution among professional nurse was satisfied as well as the provision of the supporting facilities. The overall practice on prevention and control of the hospital infection (universal precaution) among professional nurse was satisfactory level. There was no relationship between the knowledge and practice of universal precaution in the hospital (p > 0.05). However, specific knowledge, how to prevent infection resulted from the daily medical service and specimen collecting and transportation to the laboratory were significantly related to the practice of universal precaution (p = 0.01, 0.05 respectively). There was no relationship between supporting facilities and the practice (p > 0.05). In addition the study found that those bio-social factors were not related with the practical prevention and control of the infection in the hospital. The result of this study reflected the need for better conscience and responsibly in infection control by professional team. Professional nurse should periodically evaluate nurses’ practice in infection control as well as provide proper in-service education to them.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.) (การจัดการระบบสุขภาพ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1489
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunlayanee-Angsakul.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.