Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1503
Title: | การพิจารณาคดีของศาลปกครองเกี่ยวกับพินัยกรรม |
Other Titles: | The Testamentary Ruling of Administrative Court |
Authors: | ช.ชยินทร์ เพ็ชญไพศิษฏ์ Chor Chayin Petpaisit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law |
Keywords: | พินัยกรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- พินัยกรรม Civil and commercial law -- Inheritance and succession Civil and commercial law -- Wills กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ – มรดก ศาลปกครอง Administrative courts |
Issue Date: | 2013 |
Citation: | วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,2, 2556 : 77-86 |
Abstract: | โดยทั่วไปคดีพิพาทในเรื่องมรดกเกี่ยวกับพินัยกรรมจะฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม แต่คดีเกี่ยวกับพินัยกรรมบางกรณีนั้นสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลธรรมดาในฐานะเจ้ามรดกเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ถ้ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะถือได้ว่าผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ที่เจ้ามรดกได้แสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าก่อนเสียชีวิตให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของตน ซึ่งทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิได้รับมรดกก็ต่อเมื่อเจ้ามรดกตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ หรือได้ทำพินัยกรรมไว้แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก การทำพินัยกรรมนั้นเจ้ามรดกสามารถทำได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่เป็นที่น่าเชื่อถือได้แก่ พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เพราะเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอ ต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ทั้งนี้หากการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนี้ไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดแล้วพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ย่อมมีผลต่อผู้รับพินัยกรรมที่ไม่สามารถรับพินัยกรรมได้ ในบทความนี้เป็นกรณีศึกษาถึงความบกพร่องของกรมการอำเภอที่ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดทำให้พินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ทำให้ผู้รับพินัยกรรมที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายนำเรื่องดังกล่าวขึ้นฟ้องร้องต่อศาลปกครองเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ "Will is declaration of intention Person, in contemplation of death, make a declaration of intention by will conceming dispositions as to his property or other matters which shall take effect according to law after his death. If having made a will , statutory heirs are not entitled to inherit because the legator had intended priot to the death to give the heiress his own inheritance. Statutory heirs are entitled to inherit if a person dies without having made a will or if having made a will but his will has no effect or if a person dies having made a will which disposes of or has effect for some parts of his inheritance , the part which has not been disposed of or is not affected by the will shall be distributed among his statutory heirs according to law . To make a will, the legator may do in many ways. The one of reliable ways is a will may be made by a public document : the testator must declare to the Department District and at least two other persons as witnesses present at the same time what dispositions he wishes to be included in his will. If the will made by public document is not in accordance with the law, it will be void and heiress are not entitled to inherit. This article is a case study in the failure of Department District. If Department District 's document is not valid under the law, the will will be void. The heiress who have suffered damage to such matters as the court cases filed against government officials about the neglect of duty by law to comply. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/157865/114330 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1503 |
ISSN: | 2286-6965 |
Appears in Collections: | Law - Artical Journals |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.