Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1515
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิรัตน์ ทองรอด-
dc.contributor.authorชุติมา ศรีบุญ-
dc.date.accessioned2023-12-29T03:57:35Z-
dc.date.available2023-12-29T03:57:35Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1515-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (บธ. ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551th
dc.description.abstractการศึกษาอิสระได้จัดทำขึ้น เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการของลูกค้า และเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้าในการใช้บริการจากร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่พักอาศัยอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเคยใช้บริการร้านขายยาแผนปัจจุบัน และมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปจำนวน 410 คน และประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.4) มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี (ร้อยละ 46.3) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 47.6) อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 57.8) มีรายได้อยู่ในช่วง 5,001 - 10,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 34.4) สำหรับพฤติกรรมการเลือกร้านขายยานั้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกเข้าร้านประเภทร้านขายยาอิสระ (ร้อยละ 57.8) โดยสินค้าที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นยา (ร้อยละ 98.0) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่จะเลือกให้มีเภสัชกรเป็นผู้ขายยาแต่ไม่ทราบว่าร้านใดมีเภสัชกร (ร้อยละ 53.4) สำหรับช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการร้านขายยามากที่สุดคือช่วง 18.01 – 21.00 น. (ร้อยละ 49.8) โดยความถี่ในการใช้บริการร้านขายยาที่มากที่สุดคือนาน ๆ ครั้ง (ร้อยละ 48.8) และเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างใช้บริการร้านขายยาคือใกล้บ้าน (ร้อยละ 42.7) สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกร้านขายยา ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร (ค่าเฉลี่ย 4.62) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกร้านขายยาอันดับ 1-10 มีดังนี้ อันดับที่ 1 ยามีคุณภาพดี ผู้ขายมีความรู้เรื่องยา ผู้ขายมีการแนะนำการใช้ยา ผู้ขายอธิบายแล้วเข้าใจ ร้านยามีความสะอาด และผู้ขายมีประสบการณ์ (ค่าเฉลี่ย 4.81) รองลงมาคืออันดับที่ 2 มีการซักถามอาการผู้ป่วย (ค่าเฉลี่ย 4.78) อันดับที่ 3 ผู้ขายมีความรู้เรื่องอาการของโรค (ค่าเฉลี่ย 4.75) อันดับที่ 4 ยาใหม่อยู่เสมอ (ค่าเฉลี่ย 4.70) อันดับที่ 5 เดินทางไปได้สะดวกและมีบริการให้คำแนะนำการใช้ยา (ค่าเฉลี่ย 4.69) อันดับที่ 6 ร้านอยู่ใกล้บ้าน (ค่าเฉลี่ย 4.68) อันดับที่ 7 มีการซักอาการผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อนจ่ายยา (ค่าเฉลี่ย 4.60) อันดับที่ 8 ผู้ขายมีจริยธรรม (ค่าเฉลี่ย 4.54) อันดับที่ 9 ผู้ขายมีความเป็นกันเอง (ค่าเฉลี่ย 4.52) และอันดับที่ 10 แสงสว่างภายในร้านมีเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 4.48) การทดสอบสมมติฐานทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการและพฤติกรรมการเลือกรูปแบบร้านขายยา ตัวแปรอายุและตัวแปรอาชีพ มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการร้านขายยาการทดสอบสมมติฐานทางด้านปัจจัยทางการตลาดและปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ตัวแปรปัจจัยด้านราคา ได้แก่ ติดราคาชัดเจน ต่อรองราคาได้ และราคายาถูกกว่าท้องตลาด ตัวแปรปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การให้ส่วนลดและมีการแถมสินค้าเมื่อซื้อจำนวนมาก มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการร้านขายยา ตัวแปรปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยามีคุณภาพดี ซองใส่ยา ถุงยา เหมาะสม ยามีความทันสมัย และยาใหม่อยู่เสมอ ตัวแปรปัจจัยด้านบุคลากร ได้แก่ มีเภสัชกรประจำตลอดเวลา เปิดร้าน ผู้ขายมีประสบการณ์ มีจริยธรรม แต่งกายเหมาะสม และอธิบายแล้วเข้าใจง่าย ตัวแปรปัจจัยด้านขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ การให้บริการรวดเร็ว ตัวแปรปัจจัยด้านภาพลักษณ์ขององค์กร ได้แก่ ร้านมีความสะอาด จัดเรียงสินค้าเป็นหมวดหมู่ และมีระบบปรับอากาศ ตัวแปรปัจจัยอื่น ๆ ด้านบริการ ได้แก่ มีการซักอาการผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อนจ่ายยา เปิดบริการ 24 ชั่วโมง มีการใช้สื่อในการให้ความรู้ บริการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ตัวแปรปัจจัยอื่น ๆ ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องสำอาง อาหารเสริม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและเครื่องดื่ม ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกรูปแบบร้านขายยาth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectร้านขายยาth
dc.subjectDrugstoresth
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคth
dc.subjectConsumer bahaviorth
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกร้านขายยาแผนปัจจุบันของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeFactors Effecting the Consumers in Selecting Community Pharmacies in Amphur Maung, Samutprakarn Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจth
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima-Sriboon.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.