Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1521
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีนา เลิศแสนพร-
dc.contributor.advisorAreena Lertsaenporn-
dc.contributor.authorชุฎิมาพร วงศ์วิเศษ-
dc.contributor.authorShutimapron Wongwises-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2023-12-29T06:05:39Z-
dc.date.available2023-12-29T06:05:39Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1521-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเลือกรับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ 2) ศึกษาถึงผลลัพธ์ของประชาชนที่รับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่น 3) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านพฤติกรรมของผู้ชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 272 คน ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นหญิง ร้อยละ 79.8 ชาย ร้อยละ 20.2 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 21 – 30 ปี และการศึกษาระดับปริญญาตรีในการศึกษาพบว่า ละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นที่แพร่ภาพออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาที่ทำการวิจัยมีอยู่หลายเรื่อง จากการสอบถามผู้ชมเกี่ยวกับการรับชมละครได้สรุปผลละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับของแต่ละชนชาติ คือ 1) ละครจากประเทศเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” 2) ละครจากประเทศจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” และ 3) ละครจากประเทศญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” และละครจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจะมีการรับชมในสัดส่วนที่สูงกว่าเพศหญิง ส่วนละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” ในสัดส่วนการรับชมของเพศชายและเพศหญิงนั้นไม่มีความแตกต่าง ช่วงวัยที่นิยมรับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” มากที่สุดส่วนใหญ่เป็นวัยผู้ใหญ่ ที่มีอายุระหว่าง 31-50 ปี ผู้ที่รับชมละครจีนเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็น ผู้ที่มีสถานภาพโสดซึ่งอาจเป็นเพราะช่วงเวลาออกอากาศเป็นช่วงเย็นผู้ที่มีครอบครัวจึงใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน สำหรับปัจจัยทางด้านอาชีพ ผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว ส่วนผู้ที่รับชมละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จะประกอบอาชีพข้าราชการ สำหรับแนวละครที่ชื่นชอบของผู้ชมนั้น พบว่าผู้ที่รับชมละครเกาหลีเรื่อง “เจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา” จะชื่นชอบละครแนวคอมเมดี้ และผู้ที่รับชมละครญี่ปุ่นเรื่อง “ครูซ่าปราบขาโจ๋” จะเป็นผู้ที่ชื่นชอบละครแนวกุ๊กกิ๊ก เบาสมองกล่าวได้ว่าสังคมไทยที่อยู่ในสภาวะเครียด กับปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ยังคงต้องการความบันเทิงที่ทำให้ได้พักผ่อน คลายเครียด และความชื่นชอบของผู้ชมนั้นแตกต่างกัน ฉะนั้นก็จะมีการนิยมรับชมละครที่ตนชื่นชอบแตกต่างกัน ผู้ผลิตเองก็จะเน้นผลิตละครหรือนำเสนอละคร ตามกระแสสังคม โดยเฉพาะละครที่เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจากผู้ชมปัจจุบันเริ่มมีกระแสการผลิตละครเพื่อสังคม โดยคำนึงถึงผู้ที่รับชมในแต่ละช่วงวัยมากขึ้น เช่น การจัดเรตติ้งละครที่ผู้ใหญ่ควรแนะนำเมื่อเด็กนั่งดูอยู่ด้วย หรือการผลิตละครที่ส่งเสริมความเป็นครอบครัวที่มีความสุข มีเรื่องราวเสนอถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขของตัวละครที่ดำเนินในเรื่อง ทั้งนี้ผู้รับชมสามารถเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กับได้รับแง่คิดที่ดีมากมาย แต่ทว่างานวิจัยในเรื่องนี้ ผู้ศึกษาเห็นว่าสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการให้ข้อเสนอแนะให้มีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับชมละครทางโทรทัศน์ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไปth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectผู้ชมโทรทัศน์ -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.subjectTelevision viewers -- Thailand -- Bangkokth
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- เกาหลีth
dc.subjectTelevision series -- Koreath
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- จีนth
dc.subjectTelevision series -- Chinath
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่นth
dc.subjectTelevision series -- Japanth
dc.subjectละครโทรทัศน์ -- ไทยth
dc.subjectTelevision series -- Thailandth
dc.subjectอิทธิพล (จิตวิทยา)th
dc.subjectInfluence (Psychology)th
dc.titleอิทธิพลของการรับชมละครเกาหลี จีน ญี่ปุ่นทางโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeThe Influence of Korean, Chinese and Japanese Drama Television Program on Consumers in Bangkok Metropolisth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutimaporn-Wongwiset.pdf
  Restricted Access
3.43 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.