Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1523
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Factors Effecting Premarital Sexual Relation of Undergraduate Student in Private Colleges of Samutprakarn Province |
Authors: | เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย Saowanit Nitananchai ศันสนีย์ พลายด้วง Sansanee Plydoung Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | เพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส Premarital sex วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ Teenagers -- Sexual behavior นักศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ College students -- Sexual behavior |
Issue Date: | 2007 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส และศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษามหาวิทยาลัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชาย หญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 137 คนผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 22 ปีขึ้นไป และกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 มากที่สุด ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ต่างจังหวัดและพักอาศัยอยู่กับแฟนหรือคนรักมากที่สุด สถานภาพสมรสของบิดามารดา ส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน ในด้านสถานภาพการมีคนรักหรือแฟน ส่วนใหญ่มีคนรักหรือแฟนในปัจจุบันปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติต่อปัจจัยด้านครอบครัวโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดานั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ส่วนใหญ่เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและตนเองอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ส่วนด้านการอบรมเลี้ยงดูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการอบรมเลี้ยงดูโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน ส่วนใหญ่เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และวิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ส่วนใหญ่เห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและการปฏิบัติตนในเรื่องเพศ ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติในเรื่องดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ด้านการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศโดยรวมนั้น ส่วนใหญ่มีระดับการเปิดรับสื่ออยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสารสนเทศ ส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่ออยู่ในระดับปานกลาง และในด้านพฤติกรรมการบริโภคสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศประเภทต่าง ๆ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า บริโภคสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อประเภทมือถือ / คลิปวีดีโอ และสื่อประเภทหนังสือการ์ตูนลามกตามลำดับ ในด้านพฤติกรรมของสื่อด้านบุคคลหรือเพื่อนที่คบนั้น ส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของสื่อบุคคลหรือเพื่อนที่คบอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ส่วนการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษาอยู่ ภูมิลำเนาเดิม ลักษณะของที่อยู่อาศัยขณะกำลังศึกษาอยู่ สถานภาพสมรสของบิดามารดา และสถานภาพการมีคนรักกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านประชากรทั้งหมด ส่งผลต่อระดับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัวโดยรวม , ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร วิธีการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านครอบครัวทั้งหมดส่งผลต่อระดับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ส่วนด้านการอบรมเลี้ยงดู ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย พบว่า ด้านการอบรมเลี้ยงดูทั้ง 3 แบบนั้น ส่งผลต่อระดับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ด้านทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและการปฏิบัติตนในเรื่องเพศ พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและการปฏิบัติตนในเรื่องเพศ ส่งผลต่อระดับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ด้านการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ได้แก่ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศโดยรวม พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสารสนเทศ พฤติกรรมของสื่อบุคคลหรือเพื่อนที่คบนั้น พบว่า การเปิดรับสื่อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ส่งผลต่อระดับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า ทุก ๆ ฝ่ายควรมีการตระหนักในการร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ตลอดจนสื่อมวลชนในการป้องและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมทางเพศ ตลอดจนมีการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มวัยรุ่น ทั้งนี้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ควรมีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ให้ดีขึ้น |
Description: | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1523 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunsanee-Plyduang.pdf Restricted Access | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.