Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1534
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิรัตน์ ทองรอด | - |
dc.contributor.advisor | Wirat Tongrod | - |
dc.contributor.author | เจริญ เจนกำจรชัย | - |
dc.contributor.author | Charoen Jenkamjornchai | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-29T08:04:50Z | - |
dc.date.available | 2023-12-29T08:04:50Z | - |
dc.date.issued | 2006 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1534 | - |
dc.description | การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549. | th |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เครื่องมือป้องกันความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เครื่องมือป้องกันความปลอดภัยในการทำงานโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวกของผู้วิจัยจากผู้ใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยจากโรงงานต่างๆในเขตนิคมอุตสาหกรรม บางปู วิธีการสำรวจโดยการออกแบบสอบถามจำนวน398 ชุดและได้กลับมาเต็มจำนวน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 11.5 เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย โดยใช้สถิติ Chi-Square Test จากการวิจัยด้านพฤติกรรมการใช้เครื่องมือป้องกันความปลอดภัยในการทำงานพบว่ากลุ่มตัวอย่างใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยชนิดป้องกันแขนหรือนิ้วมือ มากที่สุด ร้อยละ 55.3 รองลงมาชนิดป้องกันเสียงหรือดวงตาร้อยละ19.8 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระยะเวลาใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย 4-5ชั่วโมงร้อยละ 41.7 รองลงมา 1 – 3 ชั่วโมงร้อยละ29.6 โดยที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ในระดับปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 63.1 ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงาน ในระดับมาก โดยมีผลต่อการปฏิบัติงานระดับมาก ด้านสถานที่ทำงานมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สถานที่ทำงานไม่มีสภาวะของกลิ่นมารบกวนการทำงาน และไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดินและบริเวณที่ทำงาน ระดับปานกลาง ในด้านสถานที่ทำงานไม่มีเสียงดังมารบกวนการทำงาน และ สถานที่ทำงานมีแสงสว่างเพียงพอ ด้านความสะดวกการใช้งาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงาน ในระดับมาก โดยมีผลต่อการปฏิบัติงานระดับมาก ในด้านอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน อุปกรณ์ความปลอดภัยมีความสะดวกในการใช้งานง่าย และเข้าใจการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และ ระดับปานกลาง ในด้านจัดเก็บอุปกรณ์ความปลอดภัยในที่เหมาะสมและสามารถนำกลับมาใช้ได้ทันทีที่เริ่มทำงาน และ อุปกรณ์ความปลอดภัยเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ ด้านวิธีการปฏิบัติงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงาน ในระดับมาก โดยมีผลต่อการปฏิบัติงานระดับมาก ในด้านมีคู่มือการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย อ่านเข้าใจง่าย มีคู่มือหรือวิธีการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน และมีคู่มือหรือวิธีการใช้เครื่องจักรอย่างชัดเจน และ ระดับปานกลาง ด้าน มีข้อควรระวังการปฏิบัติงานและการใช้เครื่องจักรอย่างชัดเจน และ มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานอยู่สม่ำเสมอจากผู้บังคับบัญชา ด้านการสนับสนุนขององค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงาน ในระดับมาก โดยมีผลต่อการปฏิบัติงานระดับมาก ในด้านบริษัทจัดให้มีองค์กรอื่นมาตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการทำงานอยู่เสมอ บริษัทมีการจัดทำสถิติของอุบัติเหตุและแจ้งหรือติดประกาศให้ทราบอยู่เสมอ บริษัทสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยและเปลี่ยนได้ทันที่เมื่อชำรุด บริษัทจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บังคับบัญชาคอยตักเตือนพนักงานเมื่อไม่สวมหรือใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และ ระดับปานกลาง ด้าน บริษัทมีการติดตามผลการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ บริษัทมีนโยบายความปลอดภัยในการทำงานอย่างชัดเจน และ บริษัทมีการติดแผ่นป้ายเตือนหรือคำขวัญต่างๆ ด้านการฝึกอบรม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงาน ในระดับมาก โดยมีผลต่อการปฏิบัติงานระดับมาก ด้านมีการอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย มีการปฐมนิเทศเรื่องความปลอดภัยให้กับพนักงานใหม่ มีการอบรมบ่งชี้เฉพาะจุดที่ต้องระวังการใช้เครื่องจักรอย่างปลอดภัย และ มีการฝึกอบรมการใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี และ ระดับปานกลาง ในด้านการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | นิคมอุตสาหกรรมบางปู | th |
dc.subject | Nikhom ʻUtsāhakam Bāng Pū. | th |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | th |
dc.subject | Industrial safety | th |
dc.subject | อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม | th |
dc.subject | Industrial accidents | th |
dc.subject | อาชีวอนามัย | th |
dc.subject | Industrial hygiene | th |
dc.subject | อุปกรณ์นิรภัย | th |
dc.subject | Safety appliances | th |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ | th |
dc.title.alternative | Factors Effecting the Behavior of Employees for Using Safety Tools in Factories at Bangpoo Industry Estate, Samutprakarn | th |
dc.type | Independent Studies | th |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | th |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charoen-Jenkankornchai.pdf Restricted Access | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.