Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1546
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: Factors Affecting Preventive Behaviors against Ischemic Heart Disease among Huachiew Hospital's Staffs
Authors: วิรัตน์ ทองรอด
จิตรา สุดสงวน
Keywords: โรคหลอดเลือดโคโรนารีย์
Coronary heart disease
การส่งเสริมสุขภาพ
Health promotion
Myocardial Ischemia
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหัวเฉียวที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อนำมาพัฒนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหัวเฉียว จำนวน 204 คน จากสูตรของ Taro Yamane และสุ่มอย่างง่่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เรื่องโรค 3) การรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 4) ความคาดหวังในความสามารถประสิทธิผลของตนเองต่อในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 5) ความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเที่ยงแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหัวเฉียวมี 4 ลำดับ คือ ความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด การออกกำลังกาย รายได้ และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และยังพบอีกว่ากลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่าพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนในเรื่องความรู้เรื่องโรค เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน (Non Clinic) มีความรู้น้อยกว่าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ (Clinic) หากมีการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที กระตุ้นให้มีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติเป็นไปตามความตั้งใจในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้เสนอให้เพิ่มการตรวจคัดกรองโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้เสนอให้เพิ่มการตรวจคัดกรองโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเข้าไปในการตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วยเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอันเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี
The purpose of this study is to identify factors that affect the preventive behavior against ischemic heart disease in Huachiew Hospital's staff aged years old and over. It's expected that the result of this study could be adopted as a guideline for further ischemic heart disease prevention, 204 Huachiew Hospital's staffs are selected by simple random sampling and Taro Yamane method. The validity and reliability test of questionnaires have been approved by experts before data gathering. The questionnaires contain 5 parts; including 1) general information 2) knowledge of disease 3) perception of severity and exposure of ischemic heart disease 4) expectation on self-evaluated capacity in preventing ischemic heart disease, and 5) intention to practices and behavior on ischemic heart disease prevention. The statistics for data analysis are frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square, and hierarchical multi-regression analysis. The results have shown that four potential factors influencing the preventive behavior of ischemic heart disease in Huachiew Hospital's staff, ranked as follows; the intention to practices and behavior on ischemic heart disease prevention, physical exercise, income, and expectation on self-evaluated capacity in preventing ischemic heart disease, respectively. It also indicated that the intention to preventive practices and behavior on ischemic heart disease in subjects is greater than actual practices substantially at statistical significance (p<0.01). Regarding knowledge of disease factor, non clinic staffs have lower knowledge of disease than clinical staffs. Given that more dissemination on ischemic heart disease knowledge to non-clinic staff, elevated regular physical exercise 3 days a week and 30 minutes each, balanced healthy nutrition and promote preventive practices and behavior on ischemic heart disease as intended. It's suggested that additional screening of diseases with risky factors of ischemia heart disease should presented to annual physical examination to facilitate identifying influential factors to preventive behavior and result in disease severity control.
Description: การศึกษาอิสระ (วท.ม.) (การจัดการระบบสุขภาพ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1546
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jitra-Sudsa-nguan.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.