Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1547
Title: การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
Other Titles: Knowledge Concerned and People Participation in Social Welfare of Local Administration Organization : A Case Study of People in Pala Sub-District Administration Organization, Banchang District, Rayong Province
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
รวีโรจน์ นาคงาม
Keywords: การมีส่วนร่วมของประชาชน
Political participation
องค์การบริหารส่วนตำบลพลา (ระยอง)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บริการสังคม
Social services
การรับรู้
Perception
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลด้านงานสวัสดิการสังคม (2) ศึกษาถึงความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิและเงื่อนไข ในการเข้าถึงสิทธิในการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพพิการ และการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ และ (3) ศึกษาถึงความรู้ของประชาชนในการเข้มามีส่วนร่วมของงานสวัสดิการสังคม และ (4) เพื่อศึกษาการสื่อสารระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 176 คน ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้บทบาทถูกต้องขององค์การบริหารส่วนตำบล มีเพียง 2 ประเด็น คื อบต. เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด การรับรู้สิทธิและเงื่อนไขเกียวกับเรื่องในงานสวัสดิการสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้สิทธิและเงื่อนไขของงานสวัสดิการสังคมในทุกๆ ด้าน ทั้งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพคนพิการ และการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานด้านสวัสดิการสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอยู่ที่ระดับความสนใจ มีเพียงส่วนน้อยที่ร่วมให้ข้อเสนอแนะได้ร่วมปฏิบัติ ในส่วนของเรื่องการสื่อสารระหว่างประชาชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า สมาชิกสภา อบต. โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และป้ายประชาสัมพันธ์ของ อบต. เป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะของผู้ศึกษาสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรให้ อบต. เห็นความสำคัญกับการทำประชาคมให้มากขึ้น เมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ ควรมีการประชุมชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การรับรู้และนำไปสู่การมีส่วนร่วมในระดับสูงขึ้น เช่น ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจและร่วมปฏิบัติในที่สุด ส่วนในเรื่องของสื่อ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ของ อบต. โดย อบต. และผู้นำท้องถิ่น ควรให้ความสนใจที่จะใช้สื่อเหล่านี้ ในการส่งข่าวสารให้กับประชาชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่านี้
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (สสม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1547
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raveeroj-Nak-Ngam.pdf33.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.