Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/155
Title: การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวของพนักงานภาคธุรกิจในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Study of Family's Relationship of Business Employees during the Economic Crisis in Bangkok Metropolitan
Authors: สุภรัฐ หงษ์มณี
พิมพ์ใจ ไมตรีเปรม
Keywords: ความสัมพันธ์ในครอบครัว
การทำงานและครอบครัว
ครอบครัว
การสื่อสารในครอบครัว
Work and family
Communication in families
Families
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ เป็นการศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวของพนักงานภาคธุรกิจในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวของพนักงานภาคธุรกิจที่ยังทำงานอยู่และถูกเลิกจ้างแล้ว 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของสถานภาพการทำงานกับสัมพันธภาพในครอบครัว และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือกลุ่มภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวน 21 ประเภทกิจการ โดยผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่างได้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ 5 ประเภทกิจการคือ ประเภทสิ่งทอ ประเภทอุปกรณ์-อะไหล่รถยนต์ ประเภทผลิตอาหาร-เครื่องดื่ม ประเภทการโรงแรม และประเภทสถาบันการเงิน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าสถิติไคสแคว์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติผลการศึกษาข้อมูลโดยทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิง 237 คน คิดเป็นร้อยละ 59.25 และเพศชายจำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 40.75 และมีรายได้ในครอบครัวเฉลี่ย 38,969 บาทต่อเดือนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสถานภาพการทำงานกับสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่าสถานภาพการทำงานมีความสัมพันธ์กับสัมพันธภาพในครอบครัวทุกด้าน คือ ด้านความเห็นพ้อง ความพึงพอใจคู่สมรส ความกลมเกลียวของคู่สมรส และการแสดงความรักคู่สมรสผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัว พบว่า 1) ด้านความเห็นพ้องของคู่สมรส ผลการศึกษาพบว่าความคล้ายคลึงกันทางฐานะเศรษฐกิจและ ฐานะทางสังคม การยอมรับจากบิดา-มารดาของคู่สมรส การยอมรับจากญาติพี่น้องของคู่สมรส และ ระยะเวลาการสมรส พบว่ามีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัว 2) ด้านความพึงพอใจคู่สมรส ผลการศึกษาพบว่าความคล้ายคลึงกันทางอายุ ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคม การยอมรับจากบิดา-มารดา ญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูงของตนและคู่สมรสมีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัว 3) ด้านความกลมเกลียว ผลการศึกษาพบว่าความคล้ายคลึงกันทางอายุ การยอมรับจากบิดา-มารดา และญาติพี่น้องของตนเองและคู่สมรส ระยะเวลาการสมรส มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัว 4) ด้านการแสดงความรักของคู่สมรส ผลการศึกษาพบว่าความคล้ายคลึงกันทางฐานะเศรษฐกิจ การยอมรับจากเพื่อนฝูงของคู่สมรสและระยะเวลาการสมรส มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวการเห็นแบบอย่างบิดา-มารดา ความพอเพียงของรายได้ความสมานฉันท์ทางบทบาท ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต ประสิทธิผลของการสื่อสาร ความขัดแย้งในครอบครัว และสถานภาพการทำงาน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวทุกด้านคือ ด้านความเห็นพ้องของคู่สมรส ความพึงพอใจของคู่สมรส ความกลมเกลียวของคู่สมรส และการแสดงความรักของคู่สมรส และผลการศึกษาพบว่าปัจจัยความคล้ายคลึงด้านการศึกษาและศาสนาไม่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวจากการศึกษาครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัวคือ 1) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรเข้ามาช่วยกันกำหนดนโยบายช่วยเหลือ เช่น การแนะนำ และการหางานอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ถูกเลิกจ้าง รวมทั้งการมีศูนย์ช่วยเหลือและรับปรึกษาปัญหาครอบครัวควบคู่กันไปด้วย 2) กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยควรกำหนดหลักสูตรด้านครอบครัวทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีและการวางแผนการมีครอบครัวที่มั่นคงข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจากภาคธุรกิจนี้กับกลุ่มตัวอย่างอื่นอีกใน 21 ภาคกิจการ ที่ประสบปัญหาภาวะการเลิกจ้าง เนื่องจากสังคมไทยมีความหลากหลายในสังคม ดังนั้นการวิจัยนี้จึงไม่สามารถอธิบายสัมพันธภาพในครอบครัวของกลุ่มประชากรอื่นได้ 2) การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งในชีวิตสมรสและเป็นข้อมูลส่วนตัวซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปิดเผยให้บุคคลอื่นทราบได้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บแบบสอบถาม ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามพร้อมทั้งสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยกันเพื่อได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น 3) ควรมีการศึกษาแบบแผนการดำเนินชีวิตคู่ของครอบครัวพนักงานภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเป็นแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิตสมรสต่อไปกับกลุ่มภาคธุรกิจอื่นต่อไป
This research aims to study family’s relationship of business employees during the economic crisis in Bangkok. The three objectives are as follows: 1) to study family’s relationship of business employees who are still working and those who were laid of, 2) to study the correlation of working condition and the family relationship, and 3) to study the factors effecting the family relationship.Samples in this study are the employees in 22 business sectors that are effected from the economy crisis. The 400 samples were selected by simple random sampling from 5 business sectors i.e. the textile product, spare-parts and car’s equipment, food and refreshment product. Hotels and financial institutions. This is a quantitative research. The data was collected by questionnaires and analyzed by using SPSS/PC+ computer program. The percentage, means, Chi-square, and multiple regression analysis are uses to analyze the date. The results are as follows : samples consisted 59.25 percent of female and 40.75 percent of male. Families’ average income is THB 38,969 per month. According to the analysis, it is found that working condition is directly related to family relationship in all aspects ; regarding congruity, satisfaction, unity, and loving expression of couples. On the study of factors effecting the relationship in the family : 1) regarding the congruity of spouse, the finding indicated that similarity of economic status and social status, approval of parent’s and spouse’s relative, and duration or married lives effected those relationship, 2) regarding the satisfaction of the couples, the finding indicated that similarity of age, economic status and social status, approval of parents, relatives and friends effected the relationship in the family. 3) regarding the unity, the finding indicated that similarity of age, approval of parents and relatives affected the relationship in the family and 4) regarding the loving expression of couples, the finding indicated that similarity of economic status, approval of friends of spouse and duration of married lives effected the relationship in the family Positive models of parents’ married lives, sufficient income, role consensus companionship, effective communication , conflict in family and working condition effected the relationship in the family in all aspects.The finding also indicated that factors on similarity of education and religion do not effect the relationship of the family in all aspects. According to the finding of this study, The following policies recommendations for the stability of family’s institution. 1) The governmental and private sectors should issue a continuous policy such as giving revelence consultation searching for a job to them, setting up a helping center that can give a solution and instruction for the family’s problem.2) Ministry of Education and Ministry of University Affaires should set an education’s plan in the school and university as widely as possible in order to make a good relationship and have a stability’s family. Beside, there are some further study that should be taken into consideration: 1) There should be more studies comparing this group of samples with other samples in 21 business sectors who are effecting economic crisis. Since Thai society is rather complicated, this study can not explain family relationship of other business sectors.2) The study on relationship in the family really deals with personal and profound affairs therefore the study by using informal questionnaire may not provide very clear data. So the next study should be done by interview technic to make them feel more comfortable with the interviewer and give more answers.3) There should be a study on ways of living of the business employee couples who have good relationship. The result of study could be the examples to other couples in other group of business employees.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/155
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimjai-Maitreapream.pdf74.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.