Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1597
Title: การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น "รัก(ษ์)บางเสาธง" เพื่อเสริมสร้างความรู้และเจตคติรักท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Local Curriculum Development "Love Bangsaothong" to Enhance Knowledge and Attitude Local for Matthayom 1 Students in Bangsaothong District, Samut Prakan Province
Authors: วุฒิพงษ์ ทองก้อน
ปทุมา บำเพ็ญทาน
รัตนา ทิมเมือง
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะนิเทศศาสตร์
Keywords: การวางแผนหลักสูตร
Curriculum planning
บางเสาธง (สมุทรปราการ)
Bangsaothong (Samut Prakan)
ท้องถิ่นนิยม
Localism
Issue Date: 2023
Citation: วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 18,1 (มกราคม-มิถุนายน 2566) : 1-21
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “รัก(ษ์)บางเสาธง” เพื่อเสริมสร้างความรู้และเจตคติต่อท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการสำรวจและสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตร โดยพบว่า หลักสูตรที่สร้างขึ้นต้องเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และประเพณี ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้มีความรู้ และเกิดเจตคติที่ดีต่อท้องถิ่น อันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงอยู่ในท้องถิ่นบางเสาธง 2) การสร้างหลักสูตรเขียนโครงร่างหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐานได้องค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย ความสำคัญ วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งได้จัดทำคำอธิบายรายวิชา และแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง จากนั้นนำโครงร่างหลักสูตรไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณาประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่า = 4.67 ผลการประเมินความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรค่าดัชนีความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ที่ 0.99 แสดงว่าโครงร่างของหลักสูตรมีความสอดคล้องกันในทุกประเด็น 3) การทดลองใช้หลักสูตร ทดลองการใช้หลักสูตรท้องถิ่นรายวิชารัก(ษ์) บางเสาธง กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดหัวคู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน จำนวน 20 ชั่วโมง โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทำการทดสอบก่อนและหลัง (one -Group pretest -posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า t- test แบบ Dependent พบว่า นักเรียนมีคะแนนวัดความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตร พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร จากผลการทดลองใช้หลักสูตร นักเรียนมีความเห็นต่อการดำเนินการหลักสูตร โดยภาพรวมในระดับมาก (= 4.18) และผู้วิจัยได้ปรับปรุงจัดทำเป็นหลักสูตร และคู่มือการใช้หลักสูตรฉบับสมบูรณ์
The main purpose of this study was to develop The Local Curriculum Development “Love Bangsaothong” to enhance Knowledge and Attitude Local for Matthayom 1 students in Bangsaothong District, Samut Prakan Province which there were 4 steps of research methodology as follows: The first step was the study of fundamental data. surveying and inquiring development’s the necessary needs to improve the curriculum in order to bring the information to determine the processing to develop the curriculum. It was found that the curriculum has to focus in arts and culture, wisdom, and tradition through a learning process to enhance knowledge and attitude to their local as part of preserving culture to remain local of Bangsaothong District. The second step was the curriculum design. The curriculum draft was designed consist of the consequence, the vision, the principle, the goal, the competencies of learners, the character education, the course structure, the organizing study materials, the media and learning resources, the measurement and evaluation which has provided course descriptions and lesson planning consist of 5 learning units total 20 hours. Then the curriculum draft was carefully considered by 5 experts with regard to its appropriateness and consistency. The results of the appropriateness of the components of the curriculum outline overall, it was at the highest-level was = 4.67. The results of the conformity of the curriculum outline in overall, it was 0.99 This resulted shown than the course outline is consistent in all point. The third step was curriculum implementation. The curriculum was evaluated using the 27 Grade seven students in the 2nd Semester Academic Year 2021 from Wat Hua Koo school for 20 hours duration. It was a one - group experiment design with a pre-test and post-test. The data were analyzed by using dependent t-test. It was found that the results of the students with academic achievement after post learning were higher than pre learning at .01 statistical level of significance and the results of comparing the attitude towards locality of students studying with the curriculum found that post-learning was higher than pre - learning at .01 statistical level of significance. The fourth step was curriculum evaluation and revision. It was found from the findings of the curriculum implementation that curriculum, the students have opinions on the course operations. overall, at a high-level (x̄ = 4.18) and the curriculum was improved and complete course manual by the researcher.
Description: เข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/263165/179388
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1597
Appears in Collections:Liberal Arts - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Love-Bangsaothong.pdf82.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.