Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1641
Title: ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ : ด้านโภชนาการสุขภาพอนามัยและด้านครอบครัว
Other Titles: Social Indicators for Quality of Life of Thai New Industrial Community's Inhabitant Nutrition & Health and Family Life Aspects
Authors: พรรณปพร เอกพัฒน์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม
Keywords: คุณภาพชีวิต
Quality of life
อนามัยชุมชน
Public health
อนามัยครอบครัว
Families -- Health and hygiene
ชุมชนเมืองใหม่บางพลี
ชุมชนลาดกระบัง
Issue Date: 1984
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านครอบครัวและสุขภาพอนามัยของคนไทยในอุตสาหกรรมใหม่ด้านโภชนาการ สุขภาพอนามัย และครอบครัวของชุมชนบางพลีและชุมชนลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงคุณภาพชีวิตด้านชีวิตครอบครัวและสุขภาพอนามัย ในชุมชนเมืองใหม่บางพลี และชุมชนย่านอุตสาหกรรมลาดกระบังเป็นอย่างไร มีความแตกต่างกันใน 2 ชุมชน โดยทำการศึกษาจากกลุ่มประชากร ชุมชนบางพลี จำนวน 250 คน และชุมชนลาดกระบัง จำนวน 250 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโดยบังเอิญ (Accidential Sampling) และใช้แบบสอบถาามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของชุมชนบางพลี และชุมชนลาดกระบังไม่มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ คุณภาพชีวิตด้านครอบครัวยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีสถานภาพการสมรสแล้วมากที่สุด เมื่อสมรสแล้วอยู่ด้วยกันมากกว่าแยกกันอยู่ ส่วนกลุ่มที่แยกกันอยู่มีจำนวนน้อยแยกกันอยู่จากการทำงานกันคนละแห่งหรือคู่สมรสอยู่ต่างจังหวัดจึงจำเป็นต้องแยกกันชั่วคราว หรือมีความขัดแย้งกันไม่ลงรอยกัน หรือหย่าจากกัน บางรายอาจตายจากกันที่เป็นสาเหตุให้คู่สมรสต้องแยกจากกัน อยู่ด้วยกันโดยมีการจดทะเบียนสมรสมากกว่าไม่มีการจดทะเบียนสมรส และมีการจดทะเบียนสมรสครั้งเดียวมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีการจัดทะเบียนสมรสหลายครั้งมีจำนวนไม่มากและจำนวนครั้งของการจดทะเบียนสมรสสูงสุด คือ 5 ครั้งในครอบครัวจะมีผู้อื่นจำนวนมากมาอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นบุคคลวัยฉกรรจ์อายุระหว่าง 21-40 ปี ส่วนวัยทารกอายุระหว่าง 0-1 ปี พบเพียงเล็กน้อย เมื่อสมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ รวมทั้งโรคจากความเครียด วิกลจริต ในครอบครัวจะดูแลสมาชิกกันเองโดยไม่คิดว่าเป็นภาระต่อครอบครัว เพราะเห็นว่าผู้เจ็บป่วยเป็นบุคคลที่มีคุณค่าในครอบครัวควรให้ความช่วยเหลือดูแลสมาชิกที่ป่วย มีส่วนน้อยเท่านั้นที่พาไปรักษาหรือส่งไปอยู่สถานพยาบาล กลุ่มผู้มีความพิการจะพบในกลุ่มอายุระหว่าง 0-1 ปี แต่ไม่ทราบสาเหตุของความพิการ ส่วนความพิการอื่นๆ เช่น พิการจากอุบัติเหตุ พันธุกรรม ความเจ็บป่วยจากการทำงานพบในกลุ่มอายุระหว่าง 2-60 ปี ขึ้นไป มีจำนวนไม่มาก กลุ่มความพิการจากการขาดสารอาหารยังไม่พบทั้ง 2 ชุมชน เมื่อ 10 ปีก่อนสมาชิกตั้งครรภ์จะฝากครรภ์ คลอด และดูแลหลังคลอด การได้รับวัคซีนของเด็ก สมาชิกในครอบครัวจะให้แพทย์ดูแลมากกว่าไปรับบริการอื่นๆ และในปัจจุบันการไปรับการดูแลที่แพทย์ยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนการดูแลโดยหมอตำแยและพยาบาลเมื่อ 10 ปีก่อนมีจำนวนไม่มาก และปัจจุบันก็ใช้บริการลดลง ชุมชนได้รับรู้ เรื่องการรับวัคซีนจากศูนย์สาธารณสุข ได้รับวัคซีนครบถ้วน ได้รับรู้เรื่องโรคเอดส์ วิธีป้องกัน โรคเอดส์จากสื่อต่างๆ รู้จักวิธีการป้องกันโรคเอดส์จากการไม่เที่ยวสำส่อนไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือเที่ยวตามสถานเริงรมย์ต่างๆ เมื่อเที่ยวหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ จะใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันตนเอง แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ไม่รู้วิธีป้องกันโรคเอดส์ และเมื่อเที่ยวก็จะไม่ใช้วิธีป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ถึงแม้ว่าสัดส่วนผู้ที่ไม่ใช้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ใดๆ มีจำนวนน้อย แต่ก็น่าที่จะให้ความสนใจ และควรมีการศึกษาต่อในเรื่องปัจจัยหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด วิธีการที่สมาชิกดูแลกันเองเมื่อสมาชิกในครอบครัวป่วย และแรงจูงใจที่ทำให้ไม่ใช้วิธีการป้องกันโรคเอดส์ใดๆ ทั้งสิ้น
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1641
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punpaporn-Akapat.pdf15.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.