Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1643
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Relationships of Student and Teaching Factors to Happy Learning in Fundamental of Nursing Practicum of Nursing Students, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: พรศิริ พันธสี
นพนัฐ จำปาเทศ
วิญญ์ทัญญู บุญทัน
Pornsiri Pantasri
Nopphanath Chumpathat
Winthanyou Bunthan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ความสุข
Happiness
การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน
Nursing -- Study and teaching
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing -- Students
Issue Date: 2014
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียน การสอนกับความสุขในการเรียนรู้ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 127 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าที (depentdent t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านนักศึกษาซึ่งประกอบด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีปานกลาง และต่ำกับความสุขในกาเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาเมื่อจำแนกตามสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน (โรงพยาบาลของรัฐกับเอกชน) และผู้สอน (อาจารย์ประจำกับพยาบาลพี่เลี้ยง) พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน ส่วนปัจจัยด้านการจัดการเรียน การสอน ได้แก่ ความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน ความพึงพอใจต่อการสอนของอาจารย์ และความพึงพอใจต่อแหล่งฝึกปฏิบัติ พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในโรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยอาจารย์ประจำสูงกว่าพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ระดับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน พบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกความสุขในการเรียนรู้ตามสถานที่ฝึกปฏิบัติงานและตามผู้สอน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ รวมทั้งคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการเรียนรู้ รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน ส่วนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการจัดการเรียนการสอน ความพึงพอใจต่อการสอนของอาจารย์ และความพึงพอใจต่อแหล่งฝึกปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.624 p<.001, r=.545 p< .001, r=.450 p<.001, r=.594 p<.001 ตามลำดับ) ทั้งนี้การรับรู้ความสามารถและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานได้ร้อยละ 49.40
The purpose of this descriptive research were to study the association among student and teaching factors to happy learning in fundamental of nursing practicum of nursing students, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University as well as to study the prediction power of these factors on happy learning. The sample of consisted of 127 second year students in 2001 academic year. Data were collected by questionnaires and analyzed by using descriptive statistics, t-test on way ANOVA, Pearson's product moment correlation and stepwise multiple regression. The research showed that the accumulates grade point average(CGPA) of high, medium and low score group was no statistically significant difference with happy learning in fundamental of nursing practicum and learning ability perception. Besides, the nursing students satisfied teaching at the high level and the satisfaction of teaching in private hospital significantly higher than public hospital and the satisfaction of teaching by instructors was significantly higher than that of teaching by preceptors (p<.05). In addition, the happy learning in fundamental of nursing practicum was at the high level and the happy learning was no statistically significant difference when classified hospital and instructor. Futhermore, there was no correlation between the CGPA and happy learning in fundamental of nursing practicum but a positive correlation was found between the learning ability perception and the nursing student's satisfaction of teaching (clinical teaching, instructor and hospital) with happy learning in fundamental of nursing practicum (r=.624 p<.001, r=.545 p< .001, r=.450 p<.001, r=.594 p<.001 respectively). Finally, it was found that the learning ability perception and the nursing student's satisfaction of teaching were capable of co-predicting happy learning in fundamental of nursing practicum with 49.40%.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1643
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsiri-Puntasri.pdf38.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.