Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1673
Title: มาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารของรัฐและการคุ้มครองปกป้องผู้ให้ข้อมูล Primary tabs
Other Titles: Legal measures to access and utilize State Information and Protecting Information Providers
Authors: ธนาชัย สุนทรอนันตชัย
ปกรณ์ ปาลวงษ์พานิช
กษมา สุขนิวัฒน์ชัย
Thanachai Suntonanantachai
Pakorn Palawongpanich
Kasama Sukniwatchai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Law
Bangkok University. School of Law
Office of the Council of State
Keywords: ข้อมูลข่าวสารของราชการ
Government information
การบริหารข้อมูลส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Personal information management -- Law and legislation
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะนิติศาสตร์
Citation: วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ 8, 2 (ม.ค. - มิ.ย. 2560) : 107-125
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อทบทวนและวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารของรัฐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองปกป้องผู้ให้ข้อมูล ตลอดจนเสนอแนะแนวทางและมาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการคุ้มครองปกป้องผู้ให้ข้อมูล โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนามโดยสัมภาษณ์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การที่ประชาชนจะเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารของรัฐได้นั้น อยู่ภายใต้การได้รับการรับรองคุ้มครองตาม “สิทธิในข้อมูลข่าวสาร” (Right to Information) ในขณะเดียวกันบุคคลในฐานะผู้ให้ข้อมูลแก่รัฐ หรือเอกชน ก็มีสิทธิได้รับการคุ้มครองปกป้องข้อมูลที่ตนได้ให้ไว้ อันเป็นการคุ้มครอง “สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนบุคคล” (Right to Privacy) ด้วยเช่นกัน สิทธิทั้งสองประการข้างต้นเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองคุ้มครองทั้งในทางระหว่างประเทศ กฎหมายประเทศต่าง ๆ รวมถึงในประเทศไทย สิทธิดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน นำไปสู่พัฒนาอย่างยั่งยืน และสัมพันธ์กับการปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าว อาทิ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ การขัดกันระหว่างกฎหมาย ความมั่นคงแห่งสิทธิในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เต็มประสิทธิภาพการถูกล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาวิจัย เช่น ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 โดยเฉพาะการกำหนดนิยามข้อมูลข่าวสารสาธารณะ การกำหนดประเภทข้อมูลข่าวสารที่ต้องเผยแพร่เป็นการทั่วไป และการแก้ไขมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ ควรมีการจัดรูปของข้อมูลข่าวสารของรัฐเพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ตลอดจนการเร่งตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.... โดยกำหนดขอบเขตของกฎหมาย กลไกการทำงาน บทลงโทษ และพิจารณาความเชื่อมโยงกลไกการทำงานขององค์กรภายใต้กฎหมายฉบับนี้กับกลไกการทำงานขององค์กรตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ให้เป็นไปอย่างชัดเจน สอดคล้องและเหมาะสม
The objectives of this research are to reexamine and analyze the law regarding access and utilization of state information and also the law as to informant protection. Moreover, this paper will suggest guidelines and legal measures to access and utilize of state information and informant protection. The qualitative research methods are documentary research and interviews. The results have been found that Thai citizens are able to access and utilize of state information under affirmation and protection of “Right to Information” Meanwhile, an informant providing information to state or private section has received “Right to Privacy” protection.These rights mentioned above have been affirmed and protected by the international community and national law of various jurisdictions including Thailand. These rights are significant to promote public participation in politics, sustainable development and adaptation of public and private sectors to the Digital Age. However, the researcher discovered that there are several crucial obstacles with respect to law enforcement to protect such rights such as the problem of state officer discretion, conflict of laws, right security of decisions of Information Disclosure Tribunals, ineffective law enforcement, right to privacy violation and so on. Suggestions are stated in this paper which are the revision of Official Information Act, B.E. 2540 especially the definition of “Public Information,” Information types stipulation that has to be widely disseminated and private information protection standard is supposed to be revised and the meaning of “Personal Information in State Agency” shall be defined. Furthermore, the state information should be reformed to be able to utilize, the discretion in making decisions of state officers is supposed to be appropriate and the Private Information Protection enactment, B.E. … shall be accelerated and specified the scope of this act, work mechanism, sanctions and consideration of work mechanism connection between entities subjected to this act and other organizations according to the Official Information Act, B.E. 2540 to be apparent, correspondent and appropriate.
Description: สามารถเช้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/152382/111218
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1673
Appears in Collections:Law - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Legal-Measures-to-Access-and-Utilize-State-Information.pdf87.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.