Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1679
Title: | ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต้อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ |
Other Titles: | The Effectiveness of Home Visits Underpinned by Orem's Nursing Theory for Enhancing Self-Care Capabilities of Pulmonary Tuberculosis Patients Who Are Sputum Smear-Positive |
Authors: | ไพรัช ม่วงศรี วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย จริยาวัตร คมพยัคฆ์ วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร Phairuch Moungsri Vanida Durongrittichai Jariyawat Kompayak Viratch Tangsujaritvijit Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Mahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital |
Keywords: | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง Self-care, Health วัณโรคปอด Tuberculosis, Pulmonary การเยี่ยมบ้าน Friendly visiting |
Issue Date: | 2012 |
Citation: | วารสาร มฉก. วิชาการ 16,31 (ก.ค.-ธ.ค. 2555) : 31-48 |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยม บ้านที่พัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต่อความสามารถในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน การดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรค การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและอัตรา การตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงเป็น ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลทับคล้อ อำเภอ ทับคล้อ จังหวัดพิจิตร รักษาด้วยสูตรยามาตรฐานระยะสั้น 6 เดือน จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสอบถามการดูแลตนเอง 2.แบบประเมินการตรวจร่างกาย 3. แบบบันทึกผลการตรวจ เสมหะและ 4. แผนการเยี่ยมบ้านที่เน้นการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ เครื่องมือตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านและมีค่าความเชื่อมั่น (KR-20)0.94ผลการศึกษามีดังนี้
1) ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 60.00) อายุ ระหว่าง 20– 59 ปี และอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 46.70 และร้อยละ 46.70) การถ่ายเท อากาศในบ้านดี (ร้อยละ 60.00) ส่วนใหญ่สามีหรือภรรยาเป็นพี่เลี้ยงหรือผู้กำกับการรับประทานยา (ร้อยละ 60.00)
2) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ เปรียบเทียบก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 4.40 และ 8.93 ( p = 0.001)
3) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบ เชื้อรายใหม่เปรียบเทียบก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 4.80 และ 10.33 ( p = 0.001)
4) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะ พบเชื้อรายใหม่เปรียบเทียบก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 11.67 และ 24.00 ( p = 0.001) 5) ผลการตรวจเสมหะเมื่อรับประทานยาวัณโรคครบ 2 เดือน ไม่พบเชื้อวัณโรคคิดเป็นร้อยละ 93.33
ข้อเสนอแนะ คือ สถานบริการสาธารณสุขควรนำแผนการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาล ของโอเรม ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม โดยประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้าน และควรใช้โปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ให้มากกว่า 8 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ด้วยตนเองและผลการตรวจเสมหะเป็นลบได้มากขึ้น This study is a single group pretest-posttest quasi experimental research with the objectives to study the effects of home visits developed under Orem’s nursing theory on self-care capabilities of tuberculosis patients in the daily routine, in support of curing the disease, and in prevention of transmission of the disease and to study whether the sputum examination found tuberculosis at the end of the intensive phase of treatment. The sample group was comprised of 15 pulmonary tuberculosis patients who were newly diagnosed as sputum-positive and registered at the tuberculosis clinic of Thapkhlo Hospita, Thapkhlo District, Phichit Province, for a short course of standard formula medicine for 6 months. The research tools consisted of 1) Self-care questionnaire,2) Physical examination evaluation form, 3) Sputum test record, and 4) Home visits that focused on supportive nursing, and education once a week for a total of 6 weeks. The tools were tested for content validity by 4 experts, which gave a confidence value (KR-20) of 0.94. Study result were as follows; 1) Personal Data of pulmonary tuberculosis patients who were newly diagnosed as sputum-positive showed that most of them were males (60.00%), age between 20-59 years (46.70%), and age more than 60 years old (46.70%). Many of them lived in the house which had good ventilation (60.00%) and had a husband or wife as medication supervisor (60.00%). 2) Average scores for self-care in daily routine of pulmonary tuberculosis patients who are newly diagnosed as sputum-positive compared before and after home visits are 4.40, and 8.93 (p = 0.001). 3) Average scores of self-care that supports curing of disease of pulmonary tuberculosis patients who are newly dragnosed as sputum-positive compared before and after home visits are 4.80, and 10.33 (p = 0.001). 4) Average scores for self-care to prevent disease transmission of pulmonary tuberculosis patients who are newly diagnosed as sputum-positive compared before and after home visits are 11.67, and 24.00 (p = 0.001). 5) Result of sputum examination when taking tuberculosis medication for 2 months showed 93.33% of patients was tuberculosis test negative no tuberculosis was. Recommendation is health personnel should apply a home visit plan under Orem’s nursing theory to pulmonary tuberculosis patients who are newly diagnosed as sputum-positive in each area appropriately by evaluating the perception of patient towards self-care behavior in all three aspects, and should extend the home visit program period to more than 8 weeks to allow patients to look after themselves, and to obtain more negative sputum examination results. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1679 |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pulmonary-Tuberculosis-Patients.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.