Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1685
Title: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก |
Other Titles: | The Effect of Health Promotion Program on Health Promoting Behavior Primigravida Adolescents |
Authors: | กรุณา ประมูลสินทรัพย์ กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม จริยาวัตร คมพยัคฆ์ เอกชัย โควาวิสารัช Karuna Pramoolsinsup Kamonthip Khungtumneum Jariyawat Kompayak Ekachai Kovavisarach Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Rajavithi Hospital. Department of Obstetrics and Gynecology |
Keywords: | การส่งเสริมสุขภาพ Health promotion วัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ Teenage girls -- Sexual behavior การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น Teenage pregnancy |
Issue Date: | 2013 |
Citation: | วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2556) : 54-60 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2006) กลุ่มตัวอย่าง คือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกจำนวน 40 ราย คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดแล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ในจำนวนที่เท่ากันคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ประกอบด้วย แผนการสอนกลุ่มย่อย แผนการสอนรายบุคคลและครอบครัว คู่มือส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ตัวแบบด้านบวก และแผ่นซีดีเสียงสำหรับฝึกปฏิบัติการคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่าที (t – test statistic) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p - value < .001 2) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรกที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p - value < .05 |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/16889/17208 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1685 |
Appears in Collections: | Nursing - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Health-Promoting-Behavior-Primigravida .pdf | 93.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.