Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1689
Title: การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรก : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: The Development Program of Continuing to Promote Breast feeding in Primigravida : A Case Study at Hua-Chiew Hospital
Authors: พัชรี รัศมีแจ่ม
จริยาวัตร คมพยัคฆ์
กนกพร นทีธนสมบัติ
Patcharee Rasamejam
Jariyawat Kompayak
Kanokporn Nateetanasombat
Hua Chiew Hospital
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: โรงพยาบาลหัวเฉียว
Hua Chiew Hospital
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Breastfeeding
Issue Date: 2009
Citation: วารสารพยาบาลทหารบก 10,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2552) : 50-58
Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกในโรงพยาบาลหัวเฉียว การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ เป็นการศึกษาสถานการณ์ของปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างกว้างๆ เพื่อนำข้อมูลมาสร้างแนวคำถามสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่ม ระยะดำเนินการเป็นการศึกษาปัญหาที่แท้จริง และแนวทางการแก้ปัญหารวมทั้งดำเนินการพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สุดท้ายเป็นระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลหัวเฉียว ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ กันยายน 2549 ถึง พฤษภาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมในการให้นมแม่ แบบประเมินความพึงพอใจของมารดากลุ่มตัวอย่างและบุคลากร ผลการศึกษาได้รูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะฝากครรภ์ เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ประเมินความตั้งใจของมารดาในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อพบว่า มารดามีความตั้งใจจึงให้ความรู้เกี่ยวกับการให้นมแม่ คัดกรองและแก้ไขหัวนม ลานนม แต่ถ้ามารถดาไม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สูติแพทย์จะโน้มน้าวให้มารดามีความตั้งใจก่อน ระยะคลอด สอนหายใจเพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ ซึ่งทำให้ลดการใช้ยาแก้ปวดและยานอนหลับ ระยะหลังคลอดทันทีในรายคลอดปกติ ประเมินความพร้อมของมารดาและเด็ก นำเด็กมาโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและให้ดูดนมแม่ครั้งแรก เมื่อมารดาและเด็กย้ายไปพักที่แผนกหลังคลอด ประเมินความพร้อมของมารดาทางด้านร่างกายช่วยเหลือโดยการนำเด็กมาดูดนมบ่อยๆ ให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสาธิตย้อนกลับ ประเมินปัญหาก่อนกลับบ้าน วางแผนการจำหน่าย และระยะหลังจำหน่ายมารดาที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาในการให้นมแม่ที่บ้าน นัดมาโรงพยาบาลเพื่อประเมินการให้นมลูกต่อเนื่อง ทุกรายติดตามมารดาทางโทรศัพท์ภายใน 7 วันหลังคลอด ข้อมูลทั้งหมดบันทึกไว้ในบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มารดาได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง นำรูปแบบไปใช้ในมารดา 15 ราย พบว่ามารดามีทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับดี ร้อยละ 53.33 มีระยะเวลาการให้นมตามความคาดหวังมากกว่าและเท่ากับ 6 เดือน ร้อยละ 33.33 ระยะ 2-3 เดือน ร้อยละ 53.33 มารดามีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ ระดับมากในระยะฝากครรภ์และระยะคลอดเท่ากันคือ ร้อยละ 86.67 ระยะหลังคลอดและระยะหลังจำหน่ายเท่ากันอีก คือ ร้อยละ 66.67 บุคลากร มีความพึงพอใจกับรูปแบบที่พัฒนาขึ้นร้อยละ 76
This study was a Participatory Action Research which aimed to study the process of the development program of continuing care to promote breast feeding in primigavida at Hua-Chiew Hospital. The process was divided into 3 stages. "Preparation stage" was studying the current situation of breast feeding problems in order to develop interview guideline. "Implementation Stage" was studying problems of breast feeding and the guidelines for solving problems on solving feeding problems. "Final stage" was evaluate stage. The samples were fifteen primigravidarum, who prenatal and delivery care at Hua-Chiew Hospital. Data were collected form September 2006 to May 2008. The research instruments were The Assessment Form of breastfeeding behavior and The satisfied Assessment Form of the samples and health care providers. The outcome of continuing care could be divided into 4 phases. "Antenatal phases" The second trimester mother was assessed for their willness to breast feed their child. After the mothers had intention, the mother would be provided education on breast feeding, screened, fixed nipple and alveolar. In contrast, the mother with no intention would be persuaded to breast feed their child "Labor phases" Breasting technique would be taught "during labor" in order to reduce pain relief and sleeping pills. "Postparturn phases" After the baby was born in case of normal delivery, the mother and the child would be assessed the readiness for immediate contact and early sucking. When the mother and the child stayed in postpartum unit, the mother was assessed the physical readiness in order to be assisted for breast feeding by bringing child to suck frequently, providing education on breats feeding, and return demonstration. The problem assessment of breast feeding and planning before discharge would also be done. "Post discharged phases". The mother, who tended to have any problem related to breast feeding at home, would be schedule to see a doctor in order to evaluate continuing breast feeding. Every mother would be followed up within 7 days by telephone calling. This development program consisted of breast feeding forms for recording programs, solving problems and providing educations for mother in every phase to receive continuing care. This development program was applied with fifteen primigravidarum. It was found that the mothers had good skills for breast feeding 53.33%, moderate skills 46.67%. There were five mothers with expected breasts feeding period 6 months or more 33.33%. Eight mothers would have breast feed their child for two to three months 53.33%. The mothers were satisfied with the program of continuing care to promote breast feeding in high level both antenated phase and perinated phase equally 86.67%. Whereas postpartum phase and after discharge were satisfied equally at 66.67%.
Description: เข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/5724/5010
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1689
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Breast-Feeding.pdf81.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.