Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/170
Title: คุณภาพชีวิตของเด็กหญิงที่เคยถูกละเมิดทางเพศในจังหวัดชลบุรี
Other Titles: Quality of Life of the Sexually Abused Girls in Chonburi Province
Authors: เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
วรรณี ประทิศ
Keywords: เด็กผู้หญิง
การทารุณทางเพศต่อเด็ก
เด็กที่ถูกทารุณทางเพศ
คุณภาพชีวิต
Girls
Sexual harassment
Sexually abused children
Quality of life
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: จากการศึกษาเรื่อง “คุณภาพชีวิตของเด็กหญิงที่เคยถูกละเมิดทางเพศ ในจังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเด็กที่เคยถูกละเมิดทางเพศ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กที่เคยถูกละเมิดทางเพศ โดยผู้ศึกษาได้ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กหญิงที่เคยถูกละเมิดทางเพศในจังหวัดชลบุรี ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี ที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภาครัฐ เอกชน และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ การศึกษาในครั้งนี้เป็นปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมหลังจากที่เด็กถูกละเมิดทางเพศ การเลือกรับสื่อ การตระหนักในคุณค่าของตนเอง และคุณภาพชีวิตของเด็กในปัจจุบันจากผลการศึกษาพบว่า เด็กที่เคยถูกละเมิดทางเพศส่วนมากยังไม่มีความมั่นคงในชีวิตหลายด้านโดยเฉพาะในด้านสุขภาพจิต ซึ่งเด็กมีความวิตกกังวลกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา มีความรู้สึกว่ามีปมด้อย ทำให้ไม่สามารถที่จะลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน นอกจากนี้ครอบครัวของเด็กยังไม่มั่นคง ไม่มีที่อยู่แน่นอน เด็กบางรายขาดโอกาสในการศึกษา เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัวและความวิตกกังวลเนื่องมาจากถูกกระทำทางเพศปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้เด็กมีชีวิตที่ดีขึ้น ก็คือ1.การที่เด็กได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันทางสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียน เพื่อน ชุมชน วัด องค์กรทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือในด้านปัจจัย 4 การศึกษา ข่าวสาร การให้กำลังใจ การส่งเสริมอาชีพ การให้คำปรึกษา การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ซึ่งสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กพ้นสภาพวิกฤติที่เลวร้ายในชีวิตของตนเอง2.สื่อมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของเด็ก จากการศึกษาพบว่า การ์ตูนเป็นสื่อที่ทำให้เด็กมีความสุขมากที่สุด เพราะสนุกทำให้ลืมเหตุการณ์ที่เลวร้ายในชีวิต และได้ข้อคิดในการดำเนิน ชีวิต สื่อทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทำให้เด็กได้ความรู้ เป็นแหล่งข้อมูลการศึกษา ข่าวสารต่าง ๆ และแหล่งบันเทิง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในด้านสุขภาพจิต การศึกษา ความปลอดภัย การรู้จักป้องกันตนเอง โดยเด็กแต่ละคนก็มีวิธีการเลือกรับสื่อตามความสนใจและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง3.การตระหนักในคุณค่าของตนเอง แม้ว่าเด็กที่ถูกกระทำทางเพศจะได้รับความขมขื่นในชีวิต บางครั้งมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย แต่การที่เด็กได้รับการขัดเกลาจากสถาบันทางสังคมที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ทำให้เด็กมองเห็นคุณค่าของตนเอง ซึ่งส่งผลกระทบทางบวกต่อชีวิตของเด็ก ให้เด็กเห็นคุณค่าของตนเองด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อถูกกระทำทางเพศ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมพลังอันเข้มแข็งให้กับเด็กตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์มิได้ถูกทำลายไปกับสถานการณ์อันเลวร้ายนั้น ข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือเด็กที่ถูกกระทำทางเพศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลในด้านการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานที่ให้การคุ้มครองเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ ด้านบุคลากรให้มีสัดส่วนที่พอเพียงกับสภาพปัญหาและความต้องการของเด็กควรให้มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้กับเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องสำหรับผู้ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ควรทำงานร่วมกับองค์กรในชุมชนและทำงานลักษณะเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ควรจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะด้านในการช่วยเหลือเด็ก เช่นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ประจำหน่วยงาน มีการประชาสัมพันธ์การทำงานให้ชุมชนรับทราบ พร้อมทั้งมีการประสานงานกับนักธุรกิจ เจ้าของกิจการในชุมชนเพื่อช่วยเหลือเด็กในด้านอาชีพ และเก็บข้อมูลของเด็กที่ได้รับกาช่วยเหลือจากหน่วยงาน เพื่อทราบถึงปัญหาและความต้องการของเด็ก
The following objectives were to study the quality of life of children who had been sexually abused and the lives of children who had been abused sexually. This study was done with female youth who had been sexually abused in Chonburi Province within 4 years and received assistance from NGO, Government organization and other social welfare agencies. The main factors that were emphasized on this study were the social support mass media selections, realization of self value and quality of life of such children at present.The finding indicated that majority of the children who were sexually abused displayed signs of instability in any aspects of their life especially emotional instability. They had and inferior complex and showed signs that they were unable to forget the abused that had been affected on them. Their inability to cope with their past experiences had an adverse effect on the way they manage their current lives. Since most of the children came from dysfunctional family many of them did not have permanent residence while some did not have opportunities for education, resulting from financial difficulties. In addition the children seemed to be always worried and anxious. Factors that improved the quality of life of these children 1.The assistance and support that they received from friends and from different institutions such as: • The welfare homes where they resided.• Their own families which is very significant institution.• The school which is important place of the child.• Friends, their community, temple, NGOs and government organizations which provides his or her basic needs• The media which provided information. • Emotional support that the children received.• Vocational training.• Counseling, to encourage their self confidence, To handle their crisis situations and to re-adjust themselves in society.2.The media had influence on the children. It was found that majority of the children enjoyed watching cartoons which helped them forget their sorrows and ill-fortunes and also gave them lesson for life. The TV and the newspapers were sources of information for education, safety and self-protection as well as entertainment. The children were able to choose the most useful programs that interested them most. 3.Awareness of their own value as person despite the fact that they had been sexually abused. The children under study experienced painful trauma secured to them and also suffered from and interior complex. However the training and support the they received at the welfare home empower them to realize their own value as human which was a positive effect on their present life.RecommendationGovernments should have provide sufficient funds and professionals personnels to organizations working with sexually abused children so that support on these organizations can work better to improve the quality of life of such who have been abused. Governments should have laws that help undocumented children to have access to education. Effort should be made on a regular basis, to make these laws know to the general public that these children are given the chance to study. NGOs and Gos should collaborate with the local communities in this work. They should be the one to initiate action rater than the one who take action after the abuse. There should be more qualified people working in the field, especially psychologists and social workers.The local organization, such as business companies, business owners etc. must be aware of the work done that is being done for children. These business organization should be help in providing jobs for those children. Data on number of the usually already children who had been helped by the different organization should be recorded updated to follow up their problems and needs.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/170
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf434.08 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf138.31 kBAdobe PDFView/Open
Chaphter1.pdf827.26 kBAdobe PDFView/Open
Chaphter2.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open
Chaphter3.pdf187.37 kBAdobe PDFView/Open
Chaphter4.pdf11.18 MBAdobe PDFView/Open
Chaphter5.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf691.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.