Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1704
Title: การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of English-Chinese Major Curriculum (International Program, Revised Edition, Academic Year 2012) Bachelor's Degree Program, Department of English, Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University
Authors: สุรีย์รัตน์ มาระโพธิ์
สุธิดา สุนทรวิภาต
กิติพงษ์ มัธยสินชัย
อรุณ พุกบางจาก
ณัทสกลพัชร เชาว์วรศิษฐ์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
ภาษาจีน -- หลักสูตร
Chinese language -- Curricula
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน
Chinese language -- Study and teaching
ภาษาอังกฤษ -- หลักสูตร
English language -- Curricula
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
English language -- Study and teaching
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประเมินเกี่ยวกับบริบทต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์หลักสูตร ในด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ได้แก่ โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร คุณลักษณะของอาจารย์ คุณสมบัติของนักศึกษา ความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน สถานที่เรียน และปัญหาและอุปสรรคที่เกิดในการเรียนการสอน ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลหลักสูตร และการบริหารหลักสูตร ด้านผลการใช้หลักสูตร ได้แก่คุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จำนวน 3 คน 2) อาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นภายในและภายนอกสาขาวิชาจำนวน 13 คน 3) นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 48 คน 4) บัณฑิตมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 37 คน 5) ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 2 คน และ 6) ผู้ปกครองจำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ด้านบริบทองหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ปกครอง เห็นด้วยมากที่สุดกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษและภาษาจีน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ในภาพรวมผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบัน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ปกครองเห็นด้วยมากที่สุดกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรด้านความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร ที่เกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ปกครอง เห็นด้วยมากที่สุดกับความเหมาะสมของจำนวนหน่วยกิตของหมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ รองลงมา คือ จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา ในภาพรวมผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ปกครอง เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งมีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน พบว่าอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และบัณฑิตเห็นด้วยมากที่สุดกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ในภาพรวมอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และบัณฑิต เห็นด้วยมากกับความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอนด้านผลการใช้หลักสูตร ซึ่งมีการสอบถามการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา พบว่าข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ บัณฑิตมีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักเหตุและผล มีสติรู้จักความผิดชอบชั่วดี มีความอดทน มีวิจัย มีความเข้าใจผู้อื่น ส่วนความคาดหวังเกี่ยวกับบัณฑิต พบว่าข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ บัณฑิตควรมีทักษะการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ในภาพรวมผู้ใช้บัณฑิตเห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตนอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรมีการส่งนักศึกษาไปศึกษา ณ ต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนมากกว่าหนึ่งภาคการศึกษา และควรไปในชั้นปีที่ 3 เป็นเวลา 1 ปีการศึกษาและควรเพิ่มรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในหลักสูตรเนื่องจากเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจัดรายวิชาสหกิจศึกษาไว้ในภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าเมื่อฝึกงานเสร็จนักศึกษามักได้รับการเสนองานจากสถานประกอบการ ทำให้ไม่เสียโอกาสในการได้งานทำทันทีหลังสำเร็จการศึกษา
The purpose of this study was to evaluate the English-Chinese Major Curriculum (International Program, Revised Edition, Academic Year 2012), Huachiew Chalermprakiet University. The evaluation focused on 4 aspects including the objectives of the curriculum, the structure and content of the curriculum, the curriculum management, and the characteristics of the graduates. The subjects of this study consisted of 3 cholars from outside, 13 instructors, 48 English-Chinese major students in the first-year,second-year, third-year and fourth-year groups, 37 graduates, 2 employers and 12 students' parents. Data Analysis was based on five rating scale questionnaires. The data was analyzed in terms of frequency, percentage, and the differences of mean groups. The results of this research were as follows:The first objectives aimed to equip graduates with four language skills and was rated with the highest average scores, and most of the subjectives were satisfied with the curriculum at the highest level.When assessing the curriculum and content, it was found that the number of credits of the English major core courses were rated with the highest average scores, and most of the subjects were very satisfied with the structure of the curriculum.The curriculum management was found to give students the freedom to express their ideas in every course and was rated with the highest average scores. Most of the subjects were very satisfied with the curriculum management.Graduates and employers were satisfied with the graduates' patience, self discipline and morality at the highest level and were also very happy with how the students performed during their practicum courses.The main recommendation was that students should study abroad in a Chinese or English speaking country in the third year for more than one semester or one year if possible. Courese involving culture should be added as a necessary 21th century skill and cooperative education course should be offered in the second semester of the year 4 study plan as students may be offered a job at the eng of their intership and they would like to be able to take full advantage of this opportunity.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1704
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sureerat-Manapodhi.pdf8.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.