Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1707
Title: | โครงการวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2552) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Other Titles: | Evaluation of Bachelor of Degree Program in Business administration (Logistics and Supply Chain Management) (2009) Business Administration Faculty Huachiew Chalermprakiet University |
Authors: | ชุติระ ระบอบ อดุล นงภา พัชรา โพชะนิกร ศักชัย อรุณรัศมีเรือง Chutira Rabob Adul Nongpa Patchara Phochanikorn Sakchai Aroonratsameruang Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation การบริหารงานโลจิสติกส์ -- หลักสูตร Business logistics -- Curricula การบริหารงานโลจิสติกส์ -- การศึกษาและการสอน Business logistics -- Study and teaching |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | โครงการวิจัยประเมินหลักสูตร มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (หลักสูตรใหม่ 2552) โดยใช้ตัวแบบ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam เป็นการประเมินทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา อาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรและอาจารย์พิเศษ นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอย่างง่ายในรูปร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ด้านบริบท ปัจจัยในการประเมินด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาที่มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.71) ได้แก่ เนื้อหาวิชาสามารถนำประยุกต์ใช้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รองลงมาคือ เนื้อหารายวิชาตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชาในหลักสูตรน่าสนใจและทันสมัย(4.67) ด้านปัจจัยนำเข้า ปัจจัยในการประเมินด้านผู้เรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 5.00) ได้แก่ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์ผู้สอน มีความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันและรักษาระเบียบวินัยในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 4.00 มีเพียงปัจจัยเดียว คือ มีความรู้พื้นฐานในระดับที่เหมาะสม ในด้านผู้สอน ปัจจัยด้านผู้สอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 5.00) ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชาที่สอนเป็นอย่างดี คุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสมในวิชาที่สอน มีความตรงต่อเวลา เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวิชาชีพ เอาใจใส่ดูแลนักศึกษาที่รับผิดชอบ และมีคุณธรรมและจิตสำนึกในความเป็นครู ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x̄ = 4.50) ได้แก่ เทคนิคการสอนมีความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา สำหรับในด้านสื่อการสอน ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (x̄ = 3.49) คือ สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนมีความทันสมัย
ด้านกระบวนการ ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 5.00) ได้แก่ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลที่ชัดเจน บรรยากาศการเรียนการสอนจูงใจให้นักศึกษามีส่วนร่วม มีการกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ในชั้นเรียน มีการเสริมสร้างและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน รวมทั้งผู้เรียนมีส่วนร่วมอภิปราย เนื้อหาในการเรียน การสอนอย่างสม่ำเสมอ และผู้เรียนมีโอกาสและสามารถซักถามเมื่อเกิดความสงสัยหรือไม่เข้าใจในชั้นเรียน ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดมีจำนวน 2 ปัจจัยเท่ากัน คือ มีการเสริมสร้างและก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตประกอบการเรียน (x̄ = 4.67)
ด้านผลผลิต ปัจจัยด้านคุณลักษณะของนักศึกษาในภาพรวมที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดจำนวน 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและอาจารย์ผู้สอน มีความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน และมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง ในด้านความรู้ ได้แก่ ภาษาต่างประเทศที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน รอบรู้ในการปฏิบัติงานทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้ในงานที่ปฏิบัติ ด้านการใช้เทคนิค เครื่องมือ และวิธีการในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ด้านจิตพิสัย ได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา เสียสละและอุทิศตนในการทำงาน และยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะ ได้แก่ ทำงานโดยยึดวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ ประยุกต์ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
ด้านปัจจัยอื่นๆ ความพึงพอใจของบัณฑิตด้านการทำงาน พบว่า ปัจจัยที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 5.00) ได้แก่ การเสริมสร้างโอกาสและความก้าวหน้าในงาน สำหรับความพึงพอใจในงานด้านองค์การและหัวหน้างาน พบว่า ปัจจัยที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.81) มีจำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงานขององค์กรมีความชัดเจน และการให้ความสำคัญกับพนักงานขององค์กร สำหรับปัจจัยด้นความพึงพอใจในงาน ด้านการทำงานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (x̄ = 3.62) ได้แก่ สามารถใช้ความรู้ที่เรียนพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานของผู้สำเร็จการศึกษาด้านองค์การและหัวหน้างานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด (x̄ = 4.33) ได้แก่ การบริหารจัดการที่มีคุณธรรม This purpose of this research was to evaluate the quality of Logistics and Supply Chain Management Program Business Administration Faculty, Huachiew Chalermprakiet University (New Curriculum 2009) by applying the Daniel L Stufflebeam method and the CIPP Model of evaluation which comprised of 4 factors : context, input, process and output. The data were collected by using questionnaire and interview the people who involved in the curriculum such as students, graduated, instructors and part time lecturers and graduates' employers. The collected data were analyzed by using percentage (%), average (x̄), standard deviation (S.D) and descriptive analysis. The results of this research were as follows: 1. The results of the context evaluation as a whole found that the curriculum structure factors were at the highest level (x̄ = 4.71) such as subjects matter can apply in accordance with the need of labor market and its were appropriate to the curriculum and the subjects were interested and up-to-date (x̄ = 4.67) 2. The results of the input evaluation found that learners' factors as a whole were at the highest level (x̄ = 5.00) such as human relations to classmates and instructors, knowledge sharing, to maintain continuously discipline in class and the only one average lower than 4.00 was appropriate to fundamental knowledge. Instructor factors were appropriate at the highest level (x̄ = 5.00) such as subjects comprehension, appropriate instructor's degree and experience, punctuality, professionalism, take cafe of advisees and have instructor's ethic, at the lowest level (x̄ = 4.50) such as the technical teaching were appropriate to subjects, about instruction media at the lowest level (x̄ = 3.49) was teaching facilities obsolete. 3. The results of the process evaluation found that as a whole factors were at the highest level (x̄ = 5.00) such as the objectives, scope, learning activities and evaluation were clarify, teaching circumstance building students to have participation and enthusiasm, the students have opportunity to represent their own opinion in class, enhanced and sharing with each other including continuously participate in subjects seminar, the students have chance to ask their questions in class, at the lowest level (x̄ = 4.67) have two equal factors were encourage students' opportunity for knowledge sharing and internet technology usage in class. 4. The results of the output evaluation as a whole found that there have three characteristics factors were at the highest level such as human relations to classmates and instructors, knowledge sharing between each other, enthusiasm in self-development, foreign language skills importance to get job done, able to apply the knowledge acquire on the job in practice and general and how to use technique and instruments to resolve problems, have good relation to classmates and graduates' employers, donate and contribute to do theri own job, sticky believed in morale and ethics, to work along with organizational objectives and targets, apply knowledge to do job and its was necessary for graduates to have computer and software skills. 5. The results of the others evaluation as a whole found that the graduates' satisfactions in work were at the highest level (x̄ = 5.00) such as the opportunities enhancement and work progress, for the organizational satisfaction and graduates' employers were at the highest level (x̄ = 4.81) there have 2 factors such as clarify the organizational policy and management, responsibility to employees. For satisfaction factors in organization and graduates' employers were at the lowest level (x̄ = 3.62) such as apply knowledge to develop work efficiency. The satisfaction factors of graduates in organization and graduates' employers at the lowest level (x̄ = 4.33) was the good governance. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1707 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutira-Rabob.pdf | 6.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.