Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1712
Title: รายงานการวิจัย การประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2542 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Curriculum Evaluation of Social Work Bachelor's Degree Program Academic Year 1999 Huachiew Chalermprakiet University
การประเมินหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2542 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Authors: ไตรพัฒน์ วงศ์ประเสริฐสุข
นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
สมศักดิ์ นัคลาจารย์
โสภา อ่อนโอภาส
Traiphat Wongprasertsuk
Nutchanat Yuhanngoh
Somsak Nakhalajarn
Sopa Onopas
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ -- หลักสูตร
Social work -- Curricula
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Social work -- Study and teaching
Social in education
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้สามารถค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างครบถ้วน หลักสูตรที่ประเมินสามารถสนองวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้อย่างดี จากการติดตามศึกษาบัณฑิตอันเป็นผลผลิตของหลักสูตร พบว่ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดงานอย่างน่าพอใจ จากการศึกษาความเหมาะสมและสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร โดยอาศัยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ปรากฏว่า ด้านบริบทของหลักสูตร ภาษาที่ใช้อธิบายปรัชญาของหลักสูตรมีความยืดยาว ขาดความกระชับ ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร นอกจากเน้นให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ได้ดีแล้ว ควรเสริมความสามารถการคิด วิเคราะห์ วิจัยเพื่อการพัฒนานโยบายด้วย อย่างไรก็ตามมีการประเมินว่า โครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในระดับมากถึงมากที่สุด อาจมีบางรายวิชาที่ยังไม่เคยเปิดทำการเรียนการสอน จึงอาจยังให้ผลประเมินได้ไม่ชัดเจนนัก แต่หลักสูตรมีข้อเด่นเรื่อง การให้น้ำหนักและความสำคัญกับการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเพิ่มทักษะ ทัศนคติและความรู้ให้ผู้เรียนได้อย่างมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยส่วนใหญ่ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้และความมุ่งมั่นที่ยังเป็นจุดอ่อนของหลักสูตร แต่ถือเป็นความท้าทายได้ในอีกทางหนึ่ง ผู้สอนมีคุณสมบัติเหมาะสมในระดับดี แต่ควรพัฒนาตนเองอยู่เสมอในทุกด้านอย่างคงเส้นคงวา ในภาพรวมของสถานที่เรียน สื่อการเรียนการสอน และวัสดุการศึกษาต่างมีความเหมาะสมในระดับดี แต่ควรระมัดระวังเรื่องของความเพียงพอกับจำนวนผู้เรียน และประสิทธิภาพของการให้บริการ ด้านกระบวน การจัดการเรียนการสอนยังต้องปรับปรุงด้านความเข้มข้นและวิเคราะห์ลงลึกในเนื้อหาแต่ละรายวิชา อันจะทำให้ผู้เรียนเห็นความเชื่อมโยงของรายวิชา โดยไม่รู้สึกว่าวิชามีความซ้ำซ้อนกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนการสอนจัดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่เคร่งครัดหรือหย่อนเกินไป สามารถบอกระดับความแตกต่างในกลุ่มผู้เรียนได้อย่างตรงไปตรงมา ผลผลิตหรือบัณฑิตของหลักสูตร เป็นที่ยอมรับของตลาดงาน ทั้งในด้านทักษะ ความรู้ ทัศนคติ และบุคลิกภาพ บัณฑิตกว่าร้อยละ 80 สามารถได้งานทำภายในช่วงระยะ 6 เดือนถึง 1 ปี ภายหลังสำเร็จการศึกษา นอกเหนือจากจุดอ่อนที่บัณฑิตยังมีอยู่ในด้านภาษาต่างประเทศ กล่าวได้ว่า หลักสูตรนี้สามารถสร้างนักวิชาชีพได้ดีในระดับที่น่าพอใจ จากพื้นฐานเดิมของผู้เรียนที่ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเองเท่าใดนัก อันเป็นความสำเร็จที่ชัดเจนของการสร้างคนที่มีคุณภาพให้แก่สังคม
The project was designed with four major objectives: (1) to investigate that the curriculum evaluated can respond its objectives or not; (2) to obtain data on the congruence and appropriation of the curriculum constituents; (3) to examine the accomplishment as the output of the program; (4) to provide accurate and timely data about the program inadequacy for further amelioration In seeking to achieve these objectives with CIPP model, separate focus-group had been taken with each sample subjects : specialists, instructors, and students. The questionnaire -- survey was administratered to the graduates. The questionnaire was derived in part from eariler evaluation project with modificationn on a number of significant points. The four -- year social work courses can fulfill the inadequate beginners to be powerful and sustaining in a vocation millieu. It is the attachment of the curriculum objectives. The curriculum philosophy seems too extended. Its objective is relatively infexible with social events. However, the curriculum structure and courses are remarkable compotent and congruent with the objective stated. Some selected courses were not administered to the students in the class. They so are not acquainted and look problematic in evaluation. Nevertheless, this social work program has a worthy feature that the students are involved in learning through field-work practice. It produces exceptionally well-rounded, qualified graduates who get jobs easily and can become leaders in their field.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1712
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Traiphat-Wongprasertsuk.pdf12.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.