Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทรรศจันทร์ ปิยะตันติ-
dc.contributor.authorเพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล-
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ จักษ์เมธา-
dc.contributor.authorสมนึก อัศดรวิเศษ-
dc.contributor.authorTassachan Piyatanti-
dc.contributor.authorPenn Chayavivatkul-
dc.contributor.authorWorasith Jackmetha-
dc.contributor.authorSomnuk Asdornwised-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administrationth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-02-18T13:07:06Z-
dc.date.available2024-02-18T13:07:06Z-
dc.date.issued2006-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1715-
dc.description.abstractการวิจัยประเมินหลักสูตรการเงิน สาขาวิชาการเงิน จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันเพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชาการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด มีการตอบกลับมา 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท และมีอายุระหว่าง 3-6 ปี และมีอาจารย์ร้อยละ 40 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ทุกคนเห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งก็มีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย อาจารย์ทุกคนเห็นว่าคณะมีการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตรและเห็นด้วยกับการที่มีการบริหารหลักสูตรในรูปคณะกรรมการ อาจารย์มีความเห็นต่อสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาว่า กลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโทมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายวิชา ในหมวดการศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และกลุ่มสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมการสอนส่วนใหญ่ในระดับมาก แต่ที่คิดว่าตนเองมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมอื่นๆ คือ การแทรกการอบรมสั่่งสอนคุณธรรมและศีลธรรมในรายวิชาที่สอนแก่นักศึกษา ความเห็นของอาจารย์ต่อคุณลักษณะที่สำคัญต่อการเป็นอาจารย์ ได้แก่ การมีศีลธรรม การมีความรับผิดชอบ และการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ในขณะที่อาจารย์คิดว่าคุณลักษณะที่ตนเองมีมาก ได้แก่ การมีศีลธรรม การรู้จักตนเอง อาจารย์ประจำทุกคนใช้การสอนแบบบรรยาย มีอาจารย์บางคนใช้การสนอแบบบรรยายเชิงอภิปรายและการสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสอนที่ใช้ทุกคน คือ เครื่องฉายแผ่นใสหรือเครื่องฉายแผ่นทึบ รองลงมาคือ การนำเสนอด้วย Power Point หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อาจารย์ประจำส่วนใหญ่คิดว่าคุณลักษณะของนักศึกษาในด้านพื้้นฐานความรู้ระดับสามัญ ความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์ การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และการอ่านหนังสือประกอบ/ค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งสม่่ำเสมอ มีอยู่ในระดับปานกลาง แบบการเรียนแบบร่วมมือ เป็นแบบที่อาจารย์ประจำส่วนใหญ่ต้องการให้นักศึกษาเรียนในขณะที่มีอาจารย์ร้อยละ 40 ใช้แบบการเรียนแบบจำใจเรียน และร้อยละ 40 ใช้แบบร่วมมมือ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับบัณฑิต 20 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 20 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 22-23 ปี ร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธและมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก บัณฑิตร้อยละ 45 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษาต่ำกว่า 2.5 ร้อยละ 40 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5-3.25 มีบัณฑิต 1 ราย ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากกำลังรองานใหม่ บัณฑิต 19 คนที่ทำงาน ส่วนใหญ่ทำในหน่วยงานเอกชน ในตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีบัณฑิต 1 รายที่เป็นผู้บริหารระดับสูงเนื่องจากเป็นกิจการของครอบครัว บัณฑิตร้อยละ 74 ได้รับเงินเดือนในอัตรา 5,001-10,000 บาท บัณฑิตร้อยละ 42 ได้งานทำโดยการสมัครงานด้วยตนเองที่หน่วยงาน อีกร้อยละ 37 ให้ญาติแนะนำ บัณฑิตมีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาพื้้นฐานว่ามีเหมาะสมในระดับปานกลาง หมวดวิชาแกน บัณฑิตมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นมีความเหมาะสมในระดับดี กลุ่มวิชาเอกเลือก มีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี โดยให้ความเห็นว่าบางรายวิชาควรมีการปรับปรุงในบางด้าน การจัดการเรียนการสอนบัณฑิตชอบวิธีการเรียนแบบร่วมมือและแบบพึ่งพา และเห็นว่าแบบร่วมมือเป็นวิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน บัณฑิตเห็นว่าการติดต่อสื่อสาร การปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับดี บัณฑิตร้อยละ 65 เห็นว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้ทางด้านการเงินมากที่สุด รองลงมาคือมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหา บัณฑิตคิดว่าตนเองมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อย บัณฑิตมีความเห็นว่าคุณสมบัติที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงาน คือ การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพและการมีศีลธรรมและคุณธรรม ซึ่งตรงกับที่บัณฑิตคิดว่าเป็นคุณสมบัติที่ตนเองมี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตโดยให้บัณฑิตเป็นผู้ส่งให้กับผู้บังคับบัญชา จากจำนวนที่ส่งทั้งหมด 20 ชุด ผู้ใช้บัณฑิตตอบกลับมาเพียง 1 ชุด คิดเป็นร้อยละ 5 ของแบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งออกไป ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนความคิดของผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมดได้ ผู้ใช้บัณฑิตได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานว่าเป็นหน่วยงานเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน จะพิจารณาจากสาขาวิชาที่บัณฑิตจบตรงกับลักษณะงาน เป็นสำคัญ ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิตอยู่ในระดับปานกลาง และมีศักยภาพการทำงานเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นในระดับเท่ากัน ผู้ใช้บัณฑิตมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตในด้านสิ่งที่ควรเพิ่มเติมสำหรับการผลิตบัณฑิต คือ ก่อนที่จะจบการศึกษาควรมีการอบรมความรู้ให้กับบัณฑิตในการสมัครงาน การเตรียมตัวรวมถึงบุคลิก การแต่งการในการสมัครงาน การสอบ สอบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษาปัจจุบัน คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้บัณฑิตทั้งหมด 20 คน ตอบกลับมาทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักศึกษาปัจจุบันร้อยละ 90 เป็นนักศึกษาหญิง ภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ นักศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสายวิทย์-คณิต นักศึกษามีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดศึกษาทั่วไปว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี หมวดวิชาแกน มีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ กลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโท และหมวดวิชาเลือกเสรี มีความเหมาะสมในระดับดี ความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับดีในหลายๆ ด้าน และมีนักศึกษาร้อยละ 85 เห็นว่าควรปรับปรุงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการth
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2547th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการประเมินหลักสูตรth
dc.subjectCurriculum evaluationth
dc.subjectการเงิน -- หลักสูตรth
dc.subjectFinance -- Curriculath
dc.subjectการเงิน -- การศึกษาและการสอนth
dc.subjectFinance -- Study and teachingth
dc.titleการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeAn Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Finance Degree's Curriculum for Academic Year 2000 Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassachan-Piyatunti.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.