Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1717
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจรรยา ยอดนิล-
dc.contributor.authorกฤษณี เอี่ยมจรูญ-
dc.contributor.authorนุช สัทธาฉัตรมงคล-
dc.contributor.authorสมพร เครือแก้ว-
dc.contributor.authorรุจิรัตน์ พัฒนะศรี-
dc.contributor.authorสุวรรณา อินคล้าย-
dc.contributor.authorบรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี-
dc.contributor.authorลาวรรณ์ อนันต์ชลาลัย-
dc.contributor.authorชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ-
dc.contributor.authorJanya Yodnil-
dc.contributor.authorKritsanee Iamjaroon-
dc.contributor.authorNush Sattachatmongkol-
dc.contributor.authorSomporn Kruekaew-
dc.contributor.authorRuchirat Patanasri-
dc.contributor.authorSuwanna Inklay-
dc.contributor.authorBenjertsak Sannhapuckdee-
dc.contributor.authorLawan Ananchalalai-
dc.contributor.authorChalitpun Boonmeesuwan-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administrationth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration-
dc.date.accessioned2024-02-18T13:29:47Z-
dc.date.available2024-02-18T13:29:47Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1717-
dc.description.abstractการวิจัยประเมินหลักสูตรการบัญชี (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันเพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชาการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึงการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 7 ชุด มีการตอบกลบมา 7 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและมีอายุงานระหว่าง 7-10 ปี โดยมีอาจารย์ร้อยละ 100 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ประจำ อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เนื้อหารวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และเห็นและมีการกำกับว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจนดูแลมาตรฐานบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรีมีสัดส่วนในระดับปานกลาง หมวดวิชาเอกทั้งวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือกมีสัดส่วนในหลักสูตรค่อนข้างมาก สำหรับพฤติกรรมการสอน อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุดและผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะดังกล่าวมากที่สุด คือ เป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี การขวนขวายติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของความรู้ใหม่ๆ การรู้จักตนเอง เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม และมีความมั่นคงทางอารมณ์ ในด้านการสอน อาจารย์ผู้สอนใช้การสอนแบบสัมมนา แบบบรรยายเชิงอภิปราย การสอนแบบโครงการ และบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสนอที่นำมาใช้สอน ได้แก่ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องใช้แผ่นทึบ เครื่องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนสม่ำเสมอแต่ยังอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่่งน้อย ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 150 ชุด มีการส่งกลับมาทั้งสิ้น 11 ชุด คิดเป็นร้อยละ 7.33 ของบัณฑิตทั้งหมด จากแบบสอบถามที่ตอบกลับมา บัณฑิตส่วนใหญ่ มีอายุ 23-25 ปี ทุกคนมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ สมุทรปราการ ชลบุรี โดยแบ่งเป็นภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนือ เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตร้อยละ 1 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป ด้านการทำงาน บัณฑิตทุกคนมีงานทำในหน่วยงานเอกชนโดยมีตำแหน่งงานเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน บัณฑิตได้รับเงินเดือนอยู่ในช่วง 5,001-15,000 บาท วิธีการสมัครงานด้วยตนเอง ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร บัณฑิตทุกคนเห็นว่าวิชาในทุกหมวดมีความเหมาะสม มีความเห็นว่าวิชาด้านการจัดการ การตลาด การเงิน ธุรกิจระหว่างประเทศและวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาที่มีประโยชน์ต่อการทำงาาน ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานของตนเองว่า มีความกล้าตัดสินใจ และมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างมาก คุณลักษณะที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยที่คุณสมบัติที่บัณฑิตมีมากที่สุด ได้แก่ การมีศีลธรรมและคุณธรรม การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 150 ชุด ได้รับตอบกลับจากผู้ใช้บัณฑิต 8 ชุด ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน ผู้ร่วมงาน ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ความกล้าตัดสินใจ กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ เมื่อเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่น ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีศักยภาพในการทำงานในระดับที่มากกว่าสถาบันอื่น ยกเว้น การใช้ภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรการบัญชี (ต่อเนื่อง 2 ปี) ทั้งหมด 70 ชุด ตอบกลับมาครบหมดทั้ง 65 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.85 ของจำนวนที่ส่งไป นักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี อยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคิดเห็นต่อหลักสูตร นักศึกษาเห็นว่ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีความทันสมัยในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ มีความซ้ำซ้อนในระดับปานกลาง หมวดวิชาเอกบังคับและเอกเลือก มีเนื้อหาวิชา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ความทันสมัยในระดับมาก ความซ้ำซ้อนในระดับปานกลาง ด้านการจัดการเรียนการสอน สภาพห้องเรียน และสื่อการสอนในระดับมาก นวัตกรรมการเรียนการสอน -- โปรแกรม Blackboard การบรรยายพิเศษในระดับปานกลาง ส่วนการดูแลงานและจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนน้อยth
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2545th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการประเมินหลักสูตรth
dc.subjectCurriculum evaluationth
dc.subjectการบัญชี -- การศึกษาและการสอนth
dc.subjectAccounting -- Study and teachingth
dc.subjectการบัญชี -- หลักสูตรth
dc.subjectAccounting -- Curriculath
dc.titleการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี พุทธศักราช 2541 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeAn Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Accounting (2 Year Continuing Program) Degree's Curriculum for Academic Year 1998 Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Junya-Yodnil.pdf9.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.