Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1721
Title: ประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 สาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: The Evaluation of English Major Curriculum (Revised Edition 2001): Bachelor's Degree Program Department of English, Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University
การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 สาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Authors: เตือนจิตต์ จิตต์อารี
สุรีย์รัตน์ มาระโพธิ์
ระวิ ปัญจ์สวัสดิ์
ขัตติยาภรณ์ ธ.วันทอง
อุมารังษี วงษ์สุบรรณ
บรรจบ ปิยมาตย์
สิทธิพร ยอดนิล
กรวรรณ พรมนาถ
Tuanjit Jitaree
Sureerat Marapo
Umarungsri Wongsubun
Banjob Piyamat
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
ภาษาอังกฤษ -- หลักสูตร
English language -- Curricula
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
English language -- Study and teaching
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประเมินหลักสูตรใน 5 ด้าน คือ ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ การประเมินปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ด้านปัจจัยพื้่นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ได้แก่ การประเมินภาพรวมของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร คุณลักษณะของอาจารย์ คุณลักษณะของผู้เรียน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ได้แก่ การประเมินการบริหารจัดการทั่วไป กระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ การวัดและประเมินผล ด้านผลการใช้หลักสูตร ได้แก่ การประเมินประสิทธิภาพของผู้สำเร็จการศึกษา ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต ได้แก่ การประเมินความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสายวิชาชีพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมิน ได้แก่ บัณฑิต จำนวน 37 คน นักศึกษาทุกชั้นปีที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ของสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 120 คน ผู้ปกครองบัณฑิตและนักศึกษา จำนวนื 155 คน อาจารย์ผู้สอนภายในและภายนอกสาขาวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 30 คน อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ จำนวน 7 คน และนายจ้างบัณฑิต จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ย โดยตั้งเกณฑ์เฉลี่ยความเหมาะสมคือ 3.00 และค่าความแตกต่างคะแนนระหว่างกลุ่มด้วยค่า t-test และ F-test ด้านบริบทของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ภาพรวมของหลักสูตรเหมาะสมในระดับมาก โครงสร้างของหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตโดยรวม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด คุณลักษณะของอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ปัญหาที่เกิดจากผู้สอนมีระดับปานกลาง คุณลักษณะของผู้เรียนพบว่า มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง และปัญหาที่เกิดจากผู้เรียนมีในระดับปานกลาง สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียน พบว่า มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง มีความเห็นว่าการบริหารจัดการทั่วไป การวัดและประเมินผลและกระบวนการจัดกาเรียนการสอนกลุ่มวิชามีความเหมาะสมมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ด้านผลการใช้หลักสูตร บัณฑิตประเมินคุณสมบัติและความสามารถของตนเองโดยรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านทิศทางการบริหารจัดการหลักสูตรในอนาคต นายจ้างส่วนใหญ่ของบัณฑิตมีความเห็นว่า ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามสายวิชาชีพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตมีความเหมาะสมในระดับปานกลางและมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความคิดเห็นเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่กำหนดพบว่า ผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ยกเว้นในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน ตำราเรียนและความเหมาะสมของสถานที่เรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อหลักสูตรว่า ควรเน้นทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานจริง เน้นทฤษฎีที่ใช้งานจริงและประยุกต์กับการทำงานได้ ควรเพิ่มการฝึกงานที่ใช้ภาษาอังกฤษ ตำราเรียนและวารสารควรมีจำนวนเพียงพอต่อการยืม การจำหน่ายตำราควรรวดเร็ว และไม่แพงจนเกินควร การเรียนการสอนให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นายจ้างบัณฑิตมีข้อเสนแนะต่อคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ว่าควรพัฒนาความสามารถพิเศษในด้านการสนทนาภาษาอังกฤษ การติดต่อประสานงาน การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานได้
The purpose of this research was to evaluate Huachiew Chalermprakiet University's curriculum for Bachelor's Degree in Leberal Arts, English Major (2001 revised edition). The model modified from the five aspects of the CIPP Model including context, input, process, product and management process was applied. The subjects consisted of 37 graduated, 120 English major students in the first-year, second-year, third-year and fourth-year groups, 30 instructors, 7 experts and 10 employers. Four-rating scale questionnaires were conducted. Data was analyzed in terms of frequency, percentage, and the differences of mean groups by t-test and F-test. The results of this research were as follows: Context: It was found that graduates, students, parents, instructors and experts thought that the objectives of the curriculum were at a high level and even higher that the standard. Process: According to the graduates, students and instructors, extra curricular activities and teaching processes in English Major area were moderate while evaluation process was at a high level. Product: In terms of qualifications and abilities, the graduates evaluated themselves at high levels. Curriculum administration trend in the future: Employers felt that HCU graduates had good qualifications, so HCU graduates were evaluated at a high level. When looking at the five aspects above, all of them, except the buildings facilities and text books that were a little lower than the standard, were higher than the standard. Recommendation from the open-ended questionnaires suggested that the instructional process should emphasize the practical use of 4 language skills, especially in speaking. Practicu, focusing on using English at work should be applied more. New bools should be provided in the library points on practicum should be increased. Student-centered approach should be applied. Employers suggested that graduates should always update themselves in speaking, collecting business data and using offce computers more efficienctly, and be creative when working or studying for an M.A.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1721
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuenjit-Jitaree.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.