Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรรถพล ธรรมไพบูลย์-
dc.contributor.authorเมธี รัชตวิศาล-
dc.contributor.authorสุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์-
dc.contributor.authorนิรมล เจริญสวรรค์-
dc.contributor.authorปยุต ถาวรสถิตย์-
dc.contributor.authorเมตตา ภู่ตระกูล-
dc.contributor.authorวิโรจน์ รัตนสิงห์-
dc.contributor.authorนทสรวง มหาชนก-
dc.contributor.authorพวงชมพู โจนส์-
dc.contributor.authorสุเมษ เลิศจริยพร-
dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ อวยพรชัยเจริญ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจth
dc.date.accessioned2024-02-20T13:56:57Z-
dc.date.available2024-02-20T13:56:57Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1729-
dc.description.abstractการวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชาการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 11 ชุด มีการตอบกลับมา 11 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโทคิดเป็นร้อยละ 100 และทั้งหมดมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ ประสบการณ์การสอนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 3-6 ปี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 81.8 ความเห็นต่อสัดส่วนของหมวดวิชาต่างๆ ในหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีสัดส่วนอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย ส่วนหมวดวิชาเฉพาะ อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย-ปานกลาง โดยมีความเห็นว่ากลุ่มวิชาแกนมีสัดส่วนปานกลาง ส่วนกลุ่มวิชาเอกและกลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโทมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย สำหรับกลุ่มวิชาเลือกเสรี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย ความเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของตนเอง อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมในการสอนในระดับดีมากในทุกหัวข้อ คุณลักษณะที่อาจารย์ผู้สอนคิดว่าตนเองมีมากที่สุด คือ การมีศีลธรรม คุณลักษณะสำคัญที่รองลงมาได้แก่ มีความรับผิดชอบ และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ คุณลักษณะที่สำคัญในการเป็นอาจารย์ผู้สอนการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ส่วนคุณลักษณะที่สำคัญที่รองลงมา คือ ขวนขวายติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ผู้สอนใช้รูปแบบการสอนแบบการบรรยาย แบบบรรยายเชิงอภิปราย และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติสูงสุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับน้อย มีความเห็นว่านักศึกษามีความสนใจ ตั้งใจ และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนในรายวิชาที่สอนสม่่ำเสมอ ในระดับปานกลาง และอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งอยู่ในระดับน้อย ผลการศึกษาข้อมูลนักศึกษา คณะวิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้บัณฑิตหลักสูตรการตลาดจำนวนทั้งหมด 47 ชุด บัณฑิตตอบแบบสอบถามและส่งกลับมาทั้งสิ้น 41 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.23 ของบัณฑิตทั้งหมด บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายุ 22 ปี โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ บัณฑิตมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษา ต่ำกว่า 2.5 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75 และไม่มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 25 เนื่องจากสมัครแล้วแต่รอทางบริษัทติดต่อกลับ โดยมีบัณฑิตทำงานในหน่วยงานของเอกชน ร้อยละ 34 และกิจการของครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 30 โดยทำงานในตำแหน่งงานพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากที่สุดถึงร้อยละ 57 ร้อยละ 48.8 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท และร้อยละ 19.5 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาท ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร บัณฑิตมีความเห็นว่าหลักสูตรนี้มีความเหมาะสม โดยจาการดูค่าเฉลี่ยที่ปรากฏอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง-ดีทุกหมวดวิชา (หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ วิชาแกน และวิชาเอกบังคับ และหมวดวิชาเลือกเสรี) และวิธีการเรียนที่บัณฑิตชอบเป็นวิธีการเรียนแบบร่วมมือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.2 รองลงมา คือ แบบอิสระคิดเป็นร้อยละ 31.7 ในขณะเดียวกันบัณฑิตก็คิดว่าวิธีการเรียนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จควรเป็นวิธีแบบร่วมมือสูงที่สุด เช่นเดียวกันหรือคิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือแบบพึ่งพา คิดเป็นร้อยละ 17.1 การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นว่าตนเองมีความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานในด้านความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีสำหรับการประกอบอาชีพ มีความรู้ทางด้านการบัญชี การจัดการ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีการนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับงาน มีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ไขปัญหา มีการนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงาน มีความสามารถในการนำเสนอความรู้ต่อผู้บริหารได้ถูกต้องและชัดเจน มีความสามารถในการนำความรู้มาเป็นพื้นฐานในการศึกษาเพิ่มเติม มีการนำความรู้ที่ได้รับมีความทันสมัยสามารถปรับใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบันได้ และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับดี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะวิจัยส่งแบบสอบถามที่ส่งไปถึงผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมด 47 ชุด ได้รับตอบกลับมา 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 8.51 ผู้ใช้บัณฑิตมีความสัมพันธ์กับบัณฑิตในการเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานถึงร้อยละ 100 ในภาพรวมนั้นผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในระดับสูงในทุกประเด็นยกเว้นในเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความเป็นผู้นำและความเชื่อถือยอมรับจากผู้ร่วมงานซึ่งมีความสามารถในระดับปานกลาง โดยบัณฑิตมีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมงานเป็นอันดับแรก รองลงมาอันดับ 2 บัณฑิตมีความสามารถในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และอันดับ 3 คือความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการแก้ไขปัญหาและความสามารถในการทำงานได้รวดเร็วทันกำหนด ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เมื่อเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นพบว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติสาขาวิชาการตลาด มีศักยภาพการทำงานมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่นในด้านการอุทิศเวลาให้กับงานและความสามารถในการใช้ภาษาไทยth
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2547th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการประเมินหลักสูตรth
dc.subjectCurriculum evaluationth
dc.subjectการตลาด -- หลักสูตรth
dc.subjectMarketing -- Curriculath
dc.subjectการตลาด -- การศึกษาและการสอนth
dc.subjectMarketing -- Study and teachingth
dc.titleการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ปีการศึกษา 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeAn Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Marketing Degree's Curriculum for Academic Year 2003 Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol-Thammapaiboon.pdf10.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.