Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1733
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of Bachelor of Business Administration in Marketing (Revised 2013) Business Administration Faculty Huachiew Chalermprakiet University
Authors: สุเมษ เลิศจริยพร
สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์
เมธี รัชตะวิศาล
นิรมล เจริญสวรรค์
วิโรจน์ รัตนสิงห์
กันต์ติกมาศ รัตนปริญญานุกูล
Sumet Lurdjariyaporn
Supisphun Watjanatephin
Methee Ratchatavisarn
Niramon Japoensawan
Viroj Rattanasign
Kantikamart Rattanaparinyanukune
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การตลาด -- หลักสูตร
Marketing -- Curricula
การตลาด -- การศึกษาและการสอน
Marketing -- Study and teaching
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร หรือตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เพื่อนำมาพิจารณา ตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ ซึ่งหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มีปรับปรุงหลักสูตรใหม่ครั้งล่าสุดในปี 2556 เป็นการจัดการเรียนการสอน 4 ปี คณะผู้วิจัยจึงทำการประเมินหลักสูตรปี 2556 จากประชากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำมาข้อมูลและสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลทั้งหมดไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 ที่จะเริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2561 โดยประชากรกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 5 กลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำมะโนประชากร (Cencus Technique) ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 94 คน บัณฑิตที่สำเร็จในปีการศึกษา 2559 จำนวน 23 คน ผู้บังคับบัญชา/ผู้ใช้บัณฑิต 14 คน อาจารย์ผู้สอน 7 คน และผู้ปกครอง 22 คน ผลการศึกษาข้อมูลทั้ง 5 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชดำริและโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยสมุทรปราการมากที่สุด อันดับต่อมา คือ โรงเรียนสมุทรปราการและโรงเรียนสิริรัตนาธร สาเหตุอันดับหนึ่งที่นักศึกษาเลือกเรียนสาขาการตลาด เนื่องจากชอบเรียนสาขาวิชานี้ เหตุผลอันดับต่อมา คือ ความสะดวกเนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่ใกล้บ้าน เหตุผลอันดับ 3 คือ เพราะผู้ปกครองต้องการให้เรียน และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในวิชาชีพทางการตลาดทั้งด้านทฤษฎี และรอบรู้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในระดับมากที่สุด ในขณะที่วัตถุประสงค์อื่น ทำให้นักศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในระดับมาก แต่ทำให้มีความสามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับปานกลาง โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดที่สอดคล้องกับการนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานจริง การจัดเนื้อหาในหลักสูตรเป็นไปตามลำดับความสำคัญขององค์ความรู้ ก่อนหลัง เนื้อหาของหลักสูตรส่งเสริมให้นักศึกษามีประสบการณ์วิชาชีพด้านการตลาด มีความเหมาะสมระดับปานกลาง ในขณะนที่จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรที่กำหนดให้ศึกษา ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาแกน 48 หน่วยกิต หมวดวิชาเอกบังคับ 36 หน่วยกิต หมวดวิชาเอกเลือก สำหรับกลุ่มสหกิจศึกษา 9 หน่วยกิต และหมวดวิชาเอกเลือกสำหรับกลุ่มฝึกงาน 12 หน่วยกิจ มีความเหมาะสมมาก รายวิชาที่ไม่ควรมีในหลักสูตร 2 รายวิชา คือ GE 1113 จีนศึกษา และ IB 1013 ธุรกิจอาเซียน-จีน ในขณะที่วิชาควรปรับปรุงวิธีการสอนในวิชาแกน คือ วิชา EC 1003 เศรษฐศาสตร์มหภาค วิชา FN 1603 การเงินธุรกิจ วิชา BA 4113 การภาษีอากร ในหมวดวิชาชีพ คือ MK 3613 การจัดซื้อและจัดหา วิชา MK 4693 การตลาดบริการไมตรีจิตวิชา MK 3553 การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ วิชา MK 3603 การจัดการการขายและเทคนิคการขาย และวิชา MK 3643 การฝึกงานทางด้านการตลาด มีผลการเรียนสะสมเฉลี่ย 2.00-2.49 ร้อยละ 50 ผลการเรียนสะสมเฉลี่ย 2.50-2.99 ร้อยละ 38.9 ผลการเรียนสะสมเฉลี่ย 3.00-3.49 และ 3.50-3.99 ร้อยละ 5.6 สำหรับแต่ละช่วง ลักษณะงานที่บัณฑิตเข้าทำงานเป็นงานด้านการขายปลีก รองลงมาคือ งานด้านการขายส่ง งานด้านการส่งเสริมการขาย งานด้านการส่งเสริมการขาย งานด้านการจัดซื้อ และงานด้านข้อมูลลูกค้า ความสามารถและคุณลักษณะที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวังจากบัณฑิตมากที่สุดประกอบด้วย ความสามารถติตด่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก เช่น ลูกค้า ความสามารถเข้าใจและใช้ศัพท์เทคนิคทางด้านการตลาดในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานทางการตลาดได้จริง ในขณะที่ความสามารถของบัณฑิตที่ทำได้จริงต่ำกว่าที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง คือ ความสามารถเข้าใจและใช้ศัพท์เทคนิคทางด้านการตลาดในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยต่าๆ ด้านสื่อสารสอน ควรปรับปรุงด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอ ในระดับปานกลาง การเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความรวดเร็วของเครื่องมือ การสืบค้นผ่านเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ เช่น ระบบ Wi-FI ปรับปรุงสื่อการสอนที่ใช้ในแต่ละวิชามีความทันสมัย สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาการตลาด มีตำราและเอกสารภาษาต่างประเทศเฉพาะสาขาวิชาการตลาดในห้องสมุดเพียงพอและทันสมัย ซึ่งหลักสูตร มีช่องทางที่สะดวกในการติดต่อสื่อสารเพื่อขอคำปรึกษา มีการกำหนดช่วงเวลาในการเข้าพบที่เหมาะสม มีจิตวิทยาและเอาใจใส่ทางด้านการให้คำปรึกษาที่ช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆ ให้นักศึกษาได้ และมีประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารการจัดการหลักสูตรในระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่กิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพมีความเหมาะสมในระดับที่น้อย
The research of evaluation of bachelor Degree Program is the process to collect all important data from all major participants involving running and managing program in purpose of verification, improvement and lead to major curriculum and program revision. With reference to Huachiew Chalermprakiet University's Bachelor Degree in Marketing Program (Revised 2013), the Mrketing Program (Revised 2013) is 4-year program and presently in turn of major revision for students admission in education year 2018. To design the revisied 2018 program effectively, the research proceed Census Technique bu colleting data from population of 5-major group which consists of 94 samples from 1th-4th year students, 23 samples of graduates in education year 2016, 14 samples from employers/coworkers of graduated, 7 samples of marketing instructors and 22 samples of graduates' parents. The information from the research came out as following details; the top rank schools which the 1th-4th year students finished from comprising with Ratchadumri School and Nawamintrachinuthos Suankularpwittayalai Samutprakarn School, the second rank came from Samutprakarn School and Sirirattanathorn School. The reasons of studying the Marketing Program (Revised 2013) from the most choice was interest in Marketing Program, next choice was convenience of traveling and University close to accommodation and 3rd reason came from parents' suggestion. The information also showed up the success of the purpose of the program as the program lead the students fulfiled with knowledge comprehension both marketing and other concerned theories adapted in changing situation and environment at the top rank, nonetheless, the students still had weakness in English communication, capability of new technology devices. Implementing knowledge to the real working operation, and assisted students gained marketing career experiences. The information obviously suggested the opinion pertaining structure and contents of Marketing program were optimun for total studying credits not less than 135 credits identified as 30 credits for general education course, 48 credits for buisness core course, 36 credits of major requirements, 9 major elective credits for Co-Oprative Education course and 12 major elective for field work practice course. The outcomes of the research suggested that subject of GE 1113 Chinese Studies and IB 1013 ASEAN-Chinese Business should be removed from the program, meanwhile core course and MK 3613 Purchasing and Procurement, MK 4693 Hospitality and Service Marketing, MK 3553 Integrated Marketing Communication, MK 3603 Sales Management and Sales Technique and MK3643 Field Work Practice should have instruction modification. The accumulative grade of the 1th-4th year students were as; 50 percent of the total students gained between 2.00-2.49, 38.9 percent of the total students in the range between 2.50-2.99 and 5.6 percent of the total students gained between 3.00-3.49 and 3.50-3.99. The graduates were employed in marketing field consits of Retailing, Wholesaling, Sales promotion, Purchasing and Customer information careers. Noticeably, the employers expected capabilities from the graduates comprising with Communication with influential person with marketing technical term efficiently, ability of English communication and knowledge adaptation to real marketing operation. According to studying support facilities, the research recommended improvements by increasing number of computer set in computer laboratory, enhancing speed of Wi-FI, modernizing marketing textbook in library consistent with the marketing subjects both Thai and English version. The positive performance aspects of the Marketing program were convenience for student getting effective consulting and advice from adviser, having efficient marketing course management process, nevertheless, too little healthy and sport activities for students.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1733
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumet-Lertchariyaporn.pdf32.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.