Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1736
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: An Evaluation of Bachelor Degree Curriculum in Business Administration (Continuing Program), 2006 Academic Year Huachiew Chalermprakiet University
Authors: อรรถพล ธรรมไพบูลย์
มณฑล สรไกรกิติกูล
ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ
Utterpon Thumpiboon
Monthon Sorakraikitikul
Tassachan Piyatanti
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การบริหารธุรกิจ -- หลักสูตร
Business administration -- Curricula
การบริหารธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน
Business administration -- Study and teaching
Issue Date: 2008
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการจัดการ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการตลาด และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการเงิน ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2549 จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง) กลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการจัดการ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการตลาด และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการเงิน โดยมีการวิเคราะห์แยกกันในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ เนื่องจากประชาการทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชากรในด้านบริบทด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาของกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการจัดการ ข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 11 ชุด มีการตอบกลับมา 7 ชุด คิดเป็นร้อยละ 63.64 วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโทรและมีอายุงานมากกว่า 10 ปี โดยมีอาจารย์ร้อยละ 100 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ประจำ 6 คน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1 คน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรมความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกัน พันธกิจของมหาวิทยาลัย และเห็นว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน ดูแลมาตรฐารบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชามีความเหมาะสมในระดับปานกลางในทุกหมวดวิชา สำหรับพฤติกรรมการสอนอาจารย์ผู้สอนเห็นว่าพฤติกรรมการสอนที่มีในระดับมากที่สุด คือ มีการจัดทำประมวกลการสอนรายวิชาแจกนักศึกษา รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการสอนในเรื่องการกำหนด Office Hour ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุด คือ การมีความรับผิดชอบ และการมีศีลธรรม รองลงมาได้แก่การรู้จักตนเอง ในด้านการสอนอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่เลือกการสอนแบบบรรยาย และแบบสัมมนา รองลงมาคือ บรรยายเชิงอภิปรายและการสอนแบบ Brain Storming Groups สื่อการสอนที่นำมาใช้สอนมากที่สุด ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รองลงมา ได้แก่ วิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นสื่อในการสอน ส่วนความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่านักศึกษา ให้ความเคารพเชื่อฟังอาจารย์สูงรองลงมา คือ มีการเข้าเรียนสม่ำเสมอ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปทั้งหมด 25 ชุด มีการส่งกลับมาทั้งสิ้น 25 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ของบัณฑิตทั้งหมด จากแบบสอบถามที่ตอบกลับมา บัณฑิตมีอายุเฉลี่ย 23.8 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในสมุทรปราการคิดเป็นร้อยละ 40 กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตร้อยละ 54.2 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5 แต่ไม่เกิน 3.25 ขึ้นไป ด้านการทำงาน บัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำในหน่วยงานเอกชนคิดเป็นร้อยละ 61.9 และได้รับเงินเดือนอยู่ในช่วง 10,001-15,000 บาท มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 42.9 ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร ร้อยละ 96 ของบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่าวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์มีความเหมาะสม ส่วนรายวิชากลุ่มวิชาภาษาอังกฤษร้อยละ 84 ของบัณฑิตเห็นว่าไม่เหมาะสมโดยควรมีเพิ่มทักษะการสนทนาด้านการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก คุณลักษณะพิเศษที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมา ได้แก่ มีความรับผิดชอบ และมีวิสัยทัศน์ ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 38 ชุด ได้รับตอบกลับมา 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 10.52 ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานคิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าศักยภาพการทำงานของบัณฑิต เมื่อเทียบกับสถาบันอื่นมากที่สุด คือ ในด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการเรียนรู้งาน และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีระเบียบวินัย และความมีคุณธรรม/จริยธรรมสำหรับศักยภาพการทำงานที่ต้องปรับปรุง คือ ควรปรับปรุงในด้านภาษาอังกฤษ และบัณฑิตจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันจำนวนทั้งหมด 35 ชุดตอบกลับมา 35 ชุดคิดเป็นร้อยละร้อย นักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่ที่สมุทรปราการ ร้อยละ 45.7 รองลงมา ได้แก่ กรุงเทพร้อยละ 20 และ ชลบุรี ร้อยละ 14.3 ความคิดเห็นต่อหลักสูตร นักศึกษาเห็นว่าหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเอกบังคับ และเอก เลือกมีความทันสมัยในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับดี ด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาเห็นว่าทุกข้อมีคะแนนอยู่ในระดับดี ผลการศึกษาของกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการตลาด ข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 9 ชุด ได้รับตอบกลับมาทั้งหมด 9 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกร้อยละ 11.1 และระดับปริญญาโทร้อยละ 88.9 อาจารย์ที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี จำนวนร้อยละ 44 และมีอายุงานระหว่าง 7-10 ปี มีจำนวนร้อยละ 44 เท่ากัน มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ประจำร้อยละ 100 คน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เนื้อหารวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.8 และเห็นว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจนดูแลมาตรฐานบริหารหลักสูตรจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชามีความเหมาะสมในระดับปานกลางในทุกหมวดวิชา สำหรับพฤติกรรมการสอนอาจารย์ผู้สอนเห็นว่าพฤติกรรมการสอนที่มีในระดับมากที่สุด คือ การเข้าสอนสม่ำเสมอ รองลงมาคือ การจัดทำประมวลการสอนรายวิชาแจกนักศึกษา การกำหนด Office hours ให้นักศึกษาเข้าพบ ตามลำดับ ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุด คือ ความสามารถที่จะเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่การปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ มีความรับผิดชอบ และมีศีลธรรม ในด้านการสอนอาจารย์ ผู้สอนส่วนใหญ่เลือกการสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย รองลงมาได้แก่ การสอนแบบโครงการ และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสอนที่นำมาใช้สอนมากที่สุด ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นสื่อในการสอน รองลงมาได้แก่ อื่นๆ ซึ่งได้แก่ตำราของผู้สอน และสื่อภาพยนตร์ ส่วนความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่านักศึกษามีความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์ รองลงมาได้แก่ความคิดเห็นว่านักศึกษาเข้าเรียนวิชาที่ท่านสอนสม่่ำเสมอ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวนทั้งหมด 23 ชุด บัณฑิตตอบแบบสอบถามและส่งกลับมาทั้งสิ้น 14 ชุด คิดเป็นร้อยละ 60.9 จากแบบสอบถามที่ตอบกลับมา บัณฑิตมีอายุเฉลี่ย 22.8 มีภูมิลำเนาอยู่ในสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 64.3 รองลงมาได้แก่ กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 21.4 เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตร้อยละ 64.3 ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.5 และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5 แต่ไม่เกิน 3.25 ร้อยละ 35.7 ด้านการทำงาน บัณฑิตส่วนใหญ่มีงานทำในหน่วยงานเอกชนคิดเป็นร้อยละ 90.9 และได้รับเงินเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.5 ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร ร้อยละ 78.5 ของบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่าวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์มีความเหมาะสมร้อยละ 85.7 ส่วนรายวิชากลุ่มวิชาภาษาอังกฤษร้อยละ 21.4 ของบัณฑิตเห็นว่าไม่เหมาะสม โดยควรให้ความสำคัญ และเพิ่มเนื้อหาให้เข้มข้นมากกว่านี้ ด้านการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่ ความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมงาน รองลงมาได้แก่ มีความรู้ทางด้านการตลาด และมีความสามารถนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงาน คุณลักษณะพิเศษที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ การมีศีลธรรมและคุณธรรม และความมีมนุษยสัมพันธ์ ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 23 ชุด ได้รับตอบกลับมาจำนวน 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 21.7 ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานคิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าศักยภาพการทำงานของบัณฑิต เมื่อเทียบกับสถาบันอื่นมากที่สุด คือ ในด้านความสามารถในการเรียนรู้งาน รองลงมาคือ ความรู้ด้านวิชาการ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความมีระเบียบวินัย ความมานะอดทนสู้งาน และความมีคุณธรรม/จริยธรรม สำหรับศักยภาพการทำงานที่ต้องปรับปรุง คือ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสารและการสืบค้นข้อมูล ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันจำนวนทั้งหมด 23 ชุด ตอบกลับมา 22 ชุด คิดเป็นร้อยละ ร้อย นักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่ที่ สมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา ได้แก่ มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 22.7 ความคิดเห็นต่อหลักสูตร นักศึกษาเห็นว่าหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเอกบังคับ และเอกเลือกมีความทันสมัยในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับดี ยกเว้นในรายวิชา การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา การจัดการการขาย การวิจัยการตลาด สัมมนาการตลาด ที่มีความทันสมัยในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาเห็นว่า การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา การติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา การให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอนรายวิชามีคะแนนอยู่ในระดับดี ผลการศึกษาของกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านการเงิน ข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ได้รับตอบกลับมาทั้งหมด 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโทร้อยละ 100 อาจารย์ที่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี มีจำนวนร้อยละ 75 และมีอายุงานระหว่าง 7-10 ปี มีจำนวนร้อยละ 25 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำ ร้อยละ 50 เท่ากัน อาจารย์ทุกคนเห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 100 และเห็นว่าคณะวิชามีแผนการบริหารหลักสูตรที่ชัดเจน ดูแลมาตรฐานบริหารหลักสูตรจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 75.0 อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชามีความเหมาะสมในระดับปานกลางในทุกหมวดวิชา สำหรับพฤติกรรมการสอน อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าพฤติกรรมการสอนที่มีในระดับมากที่สุด และเรื่องประกาศผลสอบภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ในด้านความเห็นต่อคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน คุณลักษณะที่คิดว่าสำคัญที่สุด มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม และมีความมั่นคงทางอารมณ์ ในด้านการสอนอาจารย์ผู้สอนทุกคนเลือกใช้ คือ การสอนแบบบรรยาย ส่วนการสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ มีอาจารย์ผู้สอนใช้จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 75 สื่อการสอนที่นำมาใช้สอนมากที่สุด ได้แก่ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นสื่อในการสอน คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา ได้แก่ การใช้เครื่องฉายแผ่นใส/เครื่องฉายแผ่นทึบ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ส่วนความเห็นที่มีต่อนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่านักศึกษาปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 รองลงมาเห็นว่านักศึกษาให้ความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวนทั้งหมด 2 ชุด บัณฑิตตอบแบบสอบถามและส่งกลับมาทั้งสิ้น 2 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 บัณฑิตมีอายุเฉลี่ย 25 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 50 เท่ากัน เมื่อจบการศึกษามีบัณฑิตที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.5 และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5 แต่ไม่เกิน 3.25 ร้อยละ 35.7 ร้อยละ 50 เท่ากัน ด้านการทำงาน บัณฑิตทั้งหมดมีงานทำในหน่วยงานเอกชนคิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับเงินเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 100 ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรบัณฑิตมีความเห็นว่าทุกหมวดวิชา ได้แก่ การศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี มีความเหมาะสม ยกเว้นหมวดการศึกษาทั่่วไป ในรายวิชาภาษาอังกฤษเท่านั้น ที่มีบัณฑิตเห็นว่าไม่เหมาะสม จำนวน 1 คน โดยไม่ได้ระบุเหตุผลเอาไว้ ด้านการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นต่อความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานมากที่สุด ได้แก่่ มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (รองลงมาได้แก่ มีความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ มีความรู้ทางด้านการเงิน ความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหา คุณลักษณะพิเศษที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ การมีศีลธรรมและคุณธรรม และมีความเอื้ออาทรต่อผู้ร่วมงาน ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด ได้รับตอบกลับมา 2 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ใช้บัณฑิตเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานคิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าศักยภาพการทำงานของบัณฑิตเมื่อเทียบกับสถาบันอื่นมากที่สุด คือ ในด้านความสามารถในการเรียนรู้งาน ความมานะอดทนสู้งาน และความมีคุณธรรม/จริยธรรม สำหรับศักยภาพการทำงานที่ต้องปรับปรุง คือ เพิ่มเติมเรื่องการฝึกงานให้บัณฑิตก่อนจบการศึกษา ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา คณะวิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาปัจจุบันจำนวนทั้งหมด 2 ชุด ตอบกลับมา 2 ชุดคิดเป็นร้อยละ 100 นักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่ในที่กรุงเทพฯ และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 50 เท่ากัน ความคิดเห็นต่อหลักสูตร นักศึกษาเห็นว่าหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเอกบังคับ และเอกเลือกมีความทันสมัยในด้านเนื้อหา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ และความทันสมัยของเนื้อหาอยู่ในระดับดี ยกเว้นในรายวิชา การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เนื้อหารายวิชาอยู่ในระดับต้องปรับปรุงด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาเห็นว่า ความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอนในด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน (เช่น Visualize, PowerPoint โปรแกรม Blackboard, Website ของผู้สอน การบรรยายพิเศษเสริมในแต่ละรายวิชา มีกิจกรรมเสริม/การดูงาน และการประเมินผลการเรียนแต่ละรายวิชา มีความเหมาะสมมาก
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1736
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol-Thammapaiboon.pdf19.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.