Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1738
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง พุุทธศักราช 2556 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Evaluation of Bachelor Degree Program in Business Administration (Industrial Management) (Revised Curriculum 2013) Business Administration Faculty, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: แววมยุรา คำสุข
ชุติระ ระบอบ
มาริสสา อินทรเกิด
ทัศนียา ผิวขม
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การจัดการอุตสาหกรรม -- หลักสูตร
Industrial management -- Curricula
การจัดการอุตสาหกรรม -- การศึกษาและการสอน
Industrial management -- Study and teaching
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาตามหลักสูตรโดยใช้ตัวแบบ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam ครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ บริบทหรือสภาพแวดล้อมของระบบ ปัจจัยนำเข้าสู่ระบบ กระบวนการ และผลผลิต ประชากร คือ ผู้เรียน อาจารย์ผู้สอน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาบัณฑิต เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปดังนี้ นักศึกษา และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา มีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา คุณลักษณะของเพื่อนนักศึกษาร่วมชั้นเรียน การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา การเรียนการสอน ประสิทธิภาพการบริหารหลักสูตร การให้บริการห้องสมุดและสื่อการศึกษา ความเหมาะสมของอาคารสถานที่และห้องเรียน ยกเว้นปัจจัยด้านความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจ ด้านความพึงพอใจในงานของบัณฑิตด้านการทำงาน ด้านองค์การและหัวหน้างาน ในภาพรวมมีความคิดเห็นระดับเห็นด้วย เช่นเดียวกับนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์พิเศษ ด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา คุณลักษณะของนักศึกษาในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับไม่แน่ใจในทุกปัจจัย สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย จุดแข็งของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาทันสมัย การบริหารจัดการที่เป็นระบบ หลักสูตรมีการปรับปรุงตามรอบระยะเวลาสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ อาจารย์ผู้สอนมีคุณวุฒิและประสบการณ์ การเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติจริง มีการจัดเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตำแหน่งแรงงาน จุดอ่อนพื้นฐานความรู้ของนักศึกษาแตกต่างกันส่งผลกระทบต่อการเรียนและการ Dropout เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำสาขาไม่มี ขาดกิจกรรมเด่นที่ส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม โอกาสของหลักสูตร ตลาดแรงงานด้านการจัดการอุตสาหกรรม มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง อุปสรรคของหลักสูตร มีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรมมีจำนวนมาก การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ทำให้บัณฑิตจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีทักษะและศักยภาพสูงจะเข้ามาสู่ตลาดแรงานในไทยเพิ่มขึ้น ข้อค้นพบจากการวิจัย หลักสูตรมีการบริหารจัดการสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา อย่างไรก็ตาม ในบางองค์ประกอบที่จะต้องนำมาพิจารณาโดยเฉพาะด้านการเน้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน การใช้กรณีศึกษา กิจกรรมเสริมทักษะ การลดความซ้ำซ้อนในเนื้อหาบางรายวิชา และหลักสูตรควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รูัจักมากยิ่งขึ้น
This Program Evaluation Research aims to evaluate Bachelor Degree Program in Business Administration (Industrial Management) (Revised Curriculum 2013X Business Administration Faculty Huachiew Chalermprakiet Univeristy 2017 by using CIPP Model for curriculum's improvement and development guideline in accordance with its objectives and to the need of learner and society responsiveness. This research proposed CIPP Model evaluation's theory by Daniel L. Stuffebeam comprised of 4 factors: context, input, process, and outputs. The Stakeholder comprise of students, lecturer, undergraduate and supervisor are population. The research intrument's are questionnaire, interviews and focus group to analyze frequency, average, standard deviation. The results of this research revealed that in its opinion of students and graduate agreed to feature of the instructor, curriculum structure/subjects, classmate, advisor, learning and teaching management, curriculum effiency management, library service and education media, the appropriate of classroom and building except uncertainly agree with the ease of use network system. The graduate agreed with job, workplace and supervisor's satisfaction according to comployer or supervisor but the lecturer and part time lecture uncertain agreed with curriculum structure, subject, student's character in every factors. Data analysis from group discussion found that curriculum structure and subject up to date, systematic management, curriculum improvement appropriate to period of time and occupational standard and professional qualification, high standard and professional of instructor, work-based learning and preparation plan to labor market for fourth year students are strengthen, and basic knowledge of first year students are difference result to more 20% dropout, inefficiency and modernization of teaching aids, lack of instructor academic rank and there have not outstandining activities enhance students to apply knowledge to concrete. The opportunity founded that the continuos of industrial labor market need and the threat of the curriculum were there have many competitors and labor movement from neighborhood countries with higher skill and potential flowed into Thailand labor market nowadays. The research finding that although the curriculum relevant to students need but on the other side there have to scrutinize matters such as classroom perticipation of students, case study teaching, enhanceing skill, reduce duplication in subject matters and to put more effort in advertising and public relations.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1738
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weawmarura-Kumsook.pdf104.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.