Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1742
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกจากงานของพนักงาาน : ศึกษากรณีพนักงานบริษัทโคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด
Other Titles: Factors Affected to Resignation of Employees : A Case Study of Employees of Kohbunshi (Thailand) Company Limited
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
ทวีสุข ถาปันแก้ว
Keywords: บริษัท โคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด -- พนักงาน
Kohbunshi (Thailand) Company Limited -- Employees
ลูกจ้าง -- การลาออก
Employees -- Resignation
สวัสดิการลูกจ้าง
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษา "ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกจากงานของพนักงาน : ศึกษากรณีพนักงาน บริษัทโคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด" เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานที่มีต่อระบบการบริหารจัดการและสวัสดิการที่พนักงานได้รับจากบริษัท ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออกจากงานของพนักงานบริษัท เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางแก้ไขและการกำหนดมาตรการป้องกันการออกจากงานของพนักงานบริษัท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงาน บริษัท โคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด ระดับปฏิบัติการ 130 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดที่ยังคงทำงานอยู่กับบริษัทโดยผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงาน บริษัท โคบุนชิ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่สำคัญมากที่สุดตามลำดับ ลำดับแรกเกิดจากปัจจัยด้านผู้บริหารและระบบการบริหารจัดการของบริษัทที่ผู้บริหารไม่สามารถเป็นบุคคลที่พนักงานจะสามารถพูดคุย ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่พนักงานได้ คิดเป็นร้อยละ 41.5 ลำดับที่สองเกิดจากความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กล่าวคือ พนักงานเห็นว่างานที่ทำปัจจุบันไม่มีโอกาสก้าวหน้า ทำงานมาหลายปีก็ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 35.4 และลำดับที่สาม คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยพนักงานเห็นว่าที่ทำงานมีเสียงดังรบกวนในขณะทำงาน และสถานที่พักผ่อนในช่วงเวลาพัก บริษัทก็เน้นใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจการเป็นหลัก สถานที่พักผ่่อนสำหนับพนักงานจึงมีน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 30.03 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรกับการตัดสินใจออกจากบริษัทของพนักงาน พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจออกจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ต่อเดือนของพนักงานกับการตัดสินใจออกจากงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ในระดับปฏิบัติการ คือ (1) ฝ่ายบุคคลของบริษัทควรจัดการอบรมผู้บริหารระดับกลางให้มีความรู้ในเรื่องหลักการและเทคนิคการสอนงานการให้คำปรึกษา การให้กำลังใจพนักงาน เพิ่มมากขึ้น เพื่อผู้บริหารระดับกลางให้สามารถให้คำปรึกษาและให้กำลังใจแก่พนักงานได้ดีขึ้น (2) ผู้บริหารควรให้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานควรให้ความยุติธรรมต่อพนักงานทุกระดับไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับปฏิบัติการ รวมทั้งในการแบ่งงานให้พนักงานระดับปฏิบัติการทำควรจะให้ทำงานในลักษณะความร่วมมือ่วมใจ ไม่ควรเลือก ที่รักมักที่ชัง (3) ในแผนกที่มีผู้บริหารหลายคน ในการที่จะสั่งงานให้พนักงานแต่ละงาน ผู้บริหารควรจะมีการวางแผนงานกันก่อนไปสั่งงาน เพื่อพนักงานจะได้ไม่สับสนในการปฏิบัติตาม (4) ควรมีการส่งเสริมพนักงานทุกระดับให้ได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและเพื่อพนักงานจะได้มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (5) บริษัทควรจัดให้มีสถานที่พักผ่อนสำหรับพนักงานในระหว่างพักรับประทานอาหาร และช่วงพักเบรก (6) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย อาชีวะอนามัย ควรให้ใส่ใจในความปลอดภัยระหว่างการทำงานเนื่องจากมีเสียงดังรบกวนขณะพนักงานปฏิบัติงาน สำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป คือ (1) บริษัทควรทำการศึกษาหาสาเหตุที่แท้จริงในการลาออกจากบริษัทของพนักงานโดยศึกษาจากผู้ที่ออกไปแล้ว โดยตรงจะทำให้ให้ข้อมูลที่แท้จริง และ (2) บริษัทควรจัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับผู้บริหาร สวัสดิการสภาพแวดล้อมภายในบริษัท หรือการทำงานด้านต่างๆ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน และปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความผูกพันต่อบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1742
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taweesuk-Tapunkaew.pdf38.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.