Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1744
Title: ภาวะการดำเนินงานควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลหัวเฉียว ปี 2549
Other Titles: An Infection Control by Registered Nurses in Huachiew Hospital in 2006
Authors: ปราโมทย์ ทองกระจาย
จินตนา กูลวิริยะ
Keywords: โรงพยาบาลหัวเฉียว
Hua Chiew Hospital
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล -- การควบคุม
Nosocomial infections -- Control
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการดำเนินงานการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลหัวเฉียว ใน พ.ศ. 2549 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 138 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77(CRONBACH S ALPHA) วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ด้านปัจจัยทางชีวสังคม ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในโรงพยาบาล สิ่งสนับสนุนของหน่วยงานการควบคุมการติดเชื้อ การปฏิบัติงานการป้องกันการติดเชื้อ โดยหาความถี่ และร้อยละและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งสนับสนุนของหน่วยงานการควบคุมการติดเชื้ออยู่ในระดับดีมาก การปฏิบัติงานการป้องกันการติดเชื้ออยู่ในระดับดี ยกเว้นด้านความรู้และการปฏิบัติงานในเรื่องการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการระดับต่ำ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการติดเชื้อ พบว่า ระยะเวลาปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพต่ำกว่า 5 ปี จะมีการป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการต่ำกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพมากกว่า 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะเวลาปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพระหว่าง 11-15 ปี จะมีการติดต่อประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพช่วงอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This is a descriptive research aimed to study an infection control by registered nurses in Huachiew Hospital in 2006. The sample included 138 registered nurses. Data were collected by self-administered questionnaires which were developed by the researcher. The Cronbach's alpha coefficient was 0.77. Data analysis was carried out by regression analysis, frequency and percentage. Results showed that the infection control unit provided very good supporting facilities. Registered nurses had a moderate level of knowledge related to infection control. They had good level of infection control practices. However, they needed their knowledge improvement about how to cนาุollect and deliver the clinical specimens to laboratories. In term of predicting factors, it was found that the registered nurses who had work experiences less than 5 years had significantly lower infection control practices when compared to those who had work experiences more than 5 years. In addition, registered nurses with 11-15 years of work experiences had significantly better working connection with personals and infection control unit than nurses of other age groups.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1744
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana-Kulwiriya.pdf42.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.