Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1747
Title: ความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจของคนพิการในบริการด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ ของสำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Comprehension and Satisfaction of the Disabled on Service Concerning Monthly Allowance for the Disabled of Sathon District Office, Bangkok Metropolis
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
กนกวรรณ รัฐสมุทร
Kanokwan Ratasmut
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: เบี้ยยังชีพคนพิการ
Pensions
คนพิการ -- การสงเคราะห์
People with disabilities -- Services for
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของคนพิการเกี่ยวกับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของคนพิการต่อการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการที่ได้รับ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของคนพิการในการรับบริการเบี้ยยังชีพคนพิการ 4) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการต่อการพัฒนาการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ ของสำนักงานเขตสาทร กรุงเทพมหานคร การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คนพิการที่ได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน 111 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาในส่วนที่ 4 และส่วนที่ 5 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 59.9 มีอายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 59.5 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 46.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 74.8 สมาชิกในครอบครัวอาศัย่มากกว่า 4 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีความพิการทางกาย/เคลื่อนไหว คิดเป็นร้อยละ 36.9 อาศัยอยู่ในบ้านเช่า คิดเป็นร้อยละ 35.1 คนพิการส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการที่ถูกต้องคิดเป็นค่าเฉลี่ย 13.9 และมีความพึงพอใจในการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.12 ประกอบด้วย ความพึงพอใจในด้านเบี้ยยังชีพคนพิการที่ได้รับ ความพึงพอใจด้านหลักเกณฑ์การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ความพึงพอใจด้านวิธีการ ขั้นตอนการสงเคราะห์ ความพึงพอใจด้านสิ่งแวดล้อมและสถานที่ ความพึงพอใจด้านการให้บริการ และความพึงพอใจด้านการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาครั้งนี้ คือ ระดับนโยบาย ได้แก่ รัฐควรมีมาตรการส่งเสริมให้กับคนพิการ ได้รับการศึกษามากขึ้นในทุกระดับ ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ รัฐควรเปิดโอกาส่ให้คนพิการมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รัฐควรจัดสรรงบประมาณการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการให้เพียงพอและทั่วถึงกับคนพิการ รัฐควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เกี่ยวกับสิทธิและการเข้าถึงบริการ รัฐควรรณรงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ระดับปฏิบัติ สำนักงานเขตสาทร ควรมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในด้านการปฏิบัติงานกับคนพิการให้มากขึ้น ควรมีการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ควรจัดการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้ และควรมีการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนพิการให้เข้าถึงคนพิการโดยทั่วถึงทุกชุมชน
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1747
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokwan-Rattasamut.pdf
  Restricted Access
35.53 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.