Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1749
Title: | เกมออนไลน์กับเยาวชน : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนวมินทราชูทิศน์ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ |
Other Titles: | Online Game and Youth : A Case Study of the High School Student of Nawamindrachutis Treamudomsuksa Pattanakarn Schoo |
Authors: | เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย Saowanit Nitananchai ณิชาภัทร บุญตามช่วย Nichapat Boontamchuay Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย High school students -- Thailand พฤติกรรมตามแรงกดดัน Compulsive behavior เกมวิดีโอ Video games ความก้าวร้าวในเยาวชน Aggressiveness in adolescence |
Issue Date: | 2007 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่อง "เกมออนไลน์กับเยาวชน" มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อทราบถึงระดับและลักษณะการเล่นเกมออนไลน์ รวมถึงระดับของพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชน นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของเกมออนไลน์กับพฤติกรรมก้าวร้าว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาบ โรงเรียนนวมินทราชูทิสน์ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 200 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 32 อายุของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุ 16 ปี ระดับชั้นการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วง 250-500 บาท/สัปดาห์ บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดา ลักษณะของเกรมที่เล่น ส่วนใหญ่เป็นเกมที่มีลักษณะความรุนแรงปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 68.5 และเกมที่มีลักษณะความรุนแรงน้อยมีเพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยดัานครอบครัวโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 90.5 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 81 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านการอบรมเลี้ยงดู ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.5 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน ส่วนใหญ่อยู่ในระดันปานกลาง ร้อยละ 78 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 59 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยครอบครัวด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53.5 ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมก้าวร้าวอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53 การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงและเพศชาย มีระดับความก้าวร้าวแตกต่างกัน โดยเพศชายส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวอยู่ในระดับต่ำ และในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมก้าวร้าวอยู่ในระดับปานกลาง รายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่างกัน ส่งผลให้มีระดับพฤติกรรมก้าวร้าวที่ต่างกัน ปัจจัยเกี่ยวกับประเภทของเกมที่เล่น พบว่า เกมประเภทการแข่งรถมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผู้ที่ชอบเล่นเกมแข่งรถระดับมาก จะมีพฤติกรรมกัาวร้าวอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างที่ชอบเล่นเกมแข่งรถในระดับน้อย จะมีพฤติกรรมก้าวร้าวอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัวในด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 กล่าวคือ การอบรรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีระดับพฤติกรรมก้าวร้าวแตกต่างกัน จากผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าว คือ เพศ รายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ เกมประเภทแข่งรถ และปัจจัยครอบครัวด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีผลให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่าเกมบางประเภท รวมไปถึงการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว ส่งผลให้เยาวชนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งในที่สุดอาจพัฒนาไปเป็นความก้าวร้าวในระดับสูงได้ ดังนั้น ครอบครัวจึงควรมีส่วนสำคัญในการเอาใจใส่และให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสม ให้โอกาสเยาวชนได้แสดงออกทางพฤติกรรมและความคิดโดยมีผู้ปกครองให้คำแนะนำ ไม่กีดกั้น หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังควรให้ความสนใจในเรื่องการให้เงินบุตรไปโรงเรียนน ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด เพราะในบางกรณีการให้เงินมากเกินความจำเป็นที่จะต้องใช้ อาจทำให้เด็กนำเงินไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนำไปซื้อบัตรเล่นเกม หรือใช้เป็นค่าเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี นอกจากปัจจัยดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ประเภทของเกมที่เล่นก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยหล่อหลอมให้เกิดเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้ แม้ว่าในผลการศึกษาจะมีเพียงเกมประเภทการแข่งรถเท่านั้นที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวแต่ผู้ศึกษาเห็นว่าหากเด็กและเยาวชนเลือกเล่นเกมประเภทที่มุ่งเน้นการแข่งขัน หรือการต่อสู้ ในที่สุดแล้ว เด็กอาจลอกเลียนแบบพฤติกรรมในเกมไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญในชีวิตจริง ซึ่งก่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ในที่สุด ดังนั้น การเลือกประเภทเกมที่ไม่มีความรุนแรง หรือเกมที่เสริมสร้างความรู้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ นอกจากนี้ แม้ผลการศึกษา จะพบว่า มีเพียงเกมประเภทการแข่งรถ ที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า หากปล่อยให้เด็กและเยาวชนหมกมุ่นอยู่เกมที่มีลักษณะการใช้ความรุนแรงต่อไป อาจส่งผลเสียต่อเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้น จึงควรคิดหาวิธีการในลักษณะเดียวกันมาสอดแทรก เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์ความคิดของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ โดยมุ่งเน้นการผลิตเกมที่สร้างสรรค์และมีคุณธรรม สนุกสนานแฝงคติและแง่คิด ในประเด็นของครอบครัวเป็นบริบทที่สำคัญของชีวิต ครอบครัวจึงควรเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษารูปแบบและลักษณะของเกมในปัจจุบัน ว่ามีความเหมาะสมกับบุตรมากน้อยเพียงไร เพื่อที่จะให้การแนะนำ และการอบรมเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับสภาพปัญหา และควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุตร ถ่ายทอดทักษะต่างๆ ทั้งในด้านการจัดการปัญหา การป้องกันตนเอง หรือทักษะการเข้าสังคม ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กตามวัยนั้น |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1749 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nichapatr-Boonthamchauy.pdf Restricted Access | 34.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.