Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1778
Title: การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี
Other Titles: Care of Dependent Elders in the Community : A Case Study from Chonburi Province
Authors: สุริยา ฟองเกิด
พรรณปพร ลีวิโรจน์
ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Suriya Fongkerd
Panpaporn Leeviroj
Thipaporn Phothithawil
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ผู้สูงอายุ -- การดูแล
Older people -- Care
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Citation: วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 9,3 (กันยายน-ธันวาคม 2565) : 157-169
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านของญาติที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลัก และศึกษาการบริการทางสังคม การช่วยเหลือและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน และทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 10 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 10 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึงในชุมชน จำแนกได้เป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน ประกอบด้วย การดูแลด้านร่างกาย การดูแลด้านจิตใจ การดูแลด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเด็นที่ 2 การบริการ การช่วยเหลือและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบ่งเป็น 2.1) การบริการ การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน และ 2.2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในชุมชน การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยครอบครัว เป็นบทบาทที่เป็นภาระของผู้ดูแลหลักและสมาชิกในครอบครัว ควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลหลักมีการเตรียมความพร้อม เพิ่มศักยภาพคนในครอบครัวเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและผลกระทบของผู้ดูแลหลักให้สามารถดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้อย่างเหมาะสม
This research aimed to examine caring for the dependent elders that relied on their relatives’ homes as the primary caregivers and to investigate the availability of social services, assistance, and community participation in giving care for them. The research informants were 10 family members of dependent elders who lived with them and gave direct care to them for at least one year as well as 10 community representatives. The subject selection was performed with the purposive sampling method. The data was collected during semi-structured interviews in group discussions. The research findings relating to caring for the dependent elders in the community could be divided into two main topics: 1) giving care to the dependent elders at home in the physical aspect, mental aspect, and economical-social aspects; and 2) the social services, assistance, and community participation which included the social services and assistance for dependent elders in the community and community participation in giving care for the dependent elders in the community. It was acknowledged that giving care to the dependent elders at home was a hard job for the primary caregivers and family members. Caregivers should receive preparative knowledge to enhance the potential of family members to appropriately manage the daily routine of the elderly dependents.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/248363/174910
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1778
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Care-of-Dependent-Elders.pdf79.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.