Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1838
Title: | ผลของการใช้ภาพกราฟิกประยุกต์ตามโครงสร้างแมนดาลา สำหรับเพิ่มความใส่ใจทางการมองเห็นและความสามารถทางภาพ และมิติสัมพันธ์ของเด็กกลุ่มเสี่ยงสมาธิสั้น |
Other Titles: | The Effects of Applying Graphic Images Based on the Mandala structure for Increasing Visual Attention and Visuospatial ability for Children at Risk of ADHD |
Authors: | นัฐธิยา บุญอาพัทธิ์เจริญ กนก พานทอง สิริกานต์ จันทเปรมจิตต์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
Keywords: | การออกแบบกราฟิก Graphic design เด็กสมาธิสั้น Attention-deficit-disordered children การมองเห็น Vision แมนดาลา Mandala art ศิลปกรรมบำบัด Art therapy ศิลปะ -- การใช้รักษา |
Issue Date: | 2020 |
Citation: | วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 20, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2563) : 173-185 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาภาพกราฟิกประยุกต์ตามโครงสร้างแมนดาลา และ 2) ศึกษาผลของการใช้ภาพกราฟิกประยุกต์ตามโครงสร้างแมนดาลาสำหรับเพิ่มความใส่ใจทางการมองเห็น และความสามารถทางภาพและมิติสัมพันธ์ของเด็กกลุ่มเสี่ยงสมาธิสั้นระหว่างก่อนกับหลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้ภาพกราฟิกประยุกต์ตามโครงสร้างแมนดาลา และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับกับกลุ่มไม่ได้รับการฝึกใช้ภาพกราฟิกประยุกต์ตามโครงสร้างแมนดาลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดหัวคู้และโรงเรียนวัดเสาธงกลาง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 คน ที่เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงสมาธิสั้น ได้ใช้วิธีการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ภาพกราฟิกประยุกต์โดยใช้โครงสร้างภาพแมนดาลา แบบทดสอบความใส่ใจทางการมองเห็นและแบบทดสอบความสามารถทางภาพและมิติสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการฝึกใช้ภาพกราฟิกฯ กลุ่มทดลองมีความถูกต้องของการตอบสนองความใส่ใจทางการมองเห็น (Cpt) สูงกว่าก่อนที่ได้รับการฝึกใช้ภาพภาพกราฟิกประยุกต์โดยใช้โครงสร้างภาพแมนดาลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. กลุ่มทดลองมีความถูกต้องของการตอบสนองความใส่ใจทางการมองเห็น (Cpt) สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 3. หลังการฝึกใช้ภาพกราฟิกฯ กลุ่มทดลองมีความถูกต้องของการตอบสนองความสามารถทางภาพและมิติสัมพันธ์ (Corsi Block) สูงกว่าก่อนที่ได้รับการฝึกใช้ภาพภาพกราฟิกประยุกต์โดยใช้โครงสร้างภาพแมนดาลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปได้ว่า กิจกรรมการวาดภาพกราฟิกประยุกต์โดยใช้โครงสร้างภาพแมนดาลาเพิ่มความใส่ใจทางการมองเห็นและความสามารถทางภาพและมิติสัมพันธ์ของเด็กกลุ่มเสี่ยงสมาธิสั้นได้ The purpose of this research was to: 1) develop applied graphics based on the mandalastructure, 2) to study the effects of using graphics based onthe mandalastructure for increasing thevisual attention, thevisuospatial ability for childrenat riskof ADHD, the study effects during before and after the experiment in the group that received training using applied graphics based on the mandala structure, the study effects comparing betweenthetraining groups and without training groupsusing applied graphics based on the mandala structure.Thesample weresixty childrenat riskof ADHD ingrade1 to6 from Hua Khu and Wat Sao Thong Klang School, Samut Prakan Province, randomly and equally assigned totheexperimentaland control groups,30 people per group.Researchinstruments weretheapplyinggraphicimages based onthe mandalastructure, Continuous performance task (Cpt), Corsi Block test. The data were analyzed using t-test. The results were as follows: 1. The experimental group has the correctness of response to visual attention (Cpt) higher than before being trained to use graphic images using the mandala image structure at the .05 level of significance. 2. The experimental group had the correctness of response to visual attention (Cpt) higher than the control group at the .01 level of significance. 3. The experimental group has the correctness of the response to the visual ability and the relative dimension (Corsi Block) higher than before being trained to use the graphic image using the Mandala image structure at the .05 level of significance. In conclusion, drawing on the develop applying graphic images base on mandala structure could enhance the visual attention and visual actively, and the visuospatial ability for children at risk of ADHD. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/207590/165978 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1838 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Art-Therapy.pdf | 85.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.