Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1852
Title: การศึกษาเจตคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการใช้สื่อภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริง
Other Titles: A Study of Undergraduate Students’ Attitudes toward English Authentic Teaching Materials
Authors: กมลทิพย์ โพธิ์กลาง
Kamonthip Pho-Klang
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ภาษาอังกฤษ -- การสอนด้วยสื่อ
English language -- Teaching -- Aids and devices
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
English language -- Study and teaching (Higher)
เจตคติ
Attitude (Psychology)
Issue Date: 2019
Citation: วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 14,1 (มกราคม-มิถุนายน 2562) : 1-11
Abstract: รายงานการวิจัยนี้มุ่งศึกษาเจตคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีการใช้สื่อการสอน ภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้สอนใช้สื่อการสอนแบบเอกสารจริง ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 230 คน โดยแบ่งเจตคติออกเป็น 3 ด้าน คือ เจตคติด้านความคิด เจตคติด้านความรู้สึก และเจตคติด้านพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการใช้สื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริง โดยมีค่าเฉลี่ยเจตคติเท่ากับ 3.88 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเจตคติเป็นรายข้อ จากแบบประเมินเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริง จำนวน 18 ข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยเจตคติสูงที่สุด คือ สื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและเอกสารประกอบอาชีพในอนาคต รองลงมา คือ สื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงช่วยพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษาอังกฤษ และสื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยเจตคติอยู่ในระดับไม่ดีมีจำนวนสองข้อ คือสื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงใช้โครงสร้างไวยากรณ์ที่ซับซ้อน และสื่อการสอนภาษาอังกฤษแบบเอกสารจริงใช้คำศัพท์ยาก ซึ่งเป็นข้อที่มีค่าเฉลี่ยเจตคติต่ำที่สุด ผู้วิจัยยังได้วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดผลการวิจัยดังกล่าว อีกทั้งเสนอแนะแนวทางในการนำผลวิจัยไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
This study aims at investigating undergraduate students’ attitudes toward authentic teaching materials exploited in English classes. The sample group consisted of 230 English-major undergraduate students of the Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University who enrolled in English courses in which instructors used authentic teaching materials for their classes in the academic year 2016. Questionnaires were applied as research instruments. In order to investigate the students’ attitudes toward English authentic teaching materials, the term “attitude” was categorized into three aspects; cognitive, affective and behavioral attitude. After analyzing the results, it was found that in general the students had positive attitudes toward English authentic teaching materials with the average attitude score of 3.88. Most students agreed that authentic teaching materials are beneficial for their lives and future careers with the highest average attitude score out of the 18 items in the questionnaires. Also the students stated that authentic materials can improve their English reading skills, and increase the knowledge and understanding of native speakers’ cultures. However, a number of students expressed low average attitude toward English authenti teaching materials in the points that such materials contain complicated grammatical structures and difficult vocabulary. Possible factors underlying these results were discussed and recommendations for the highest effectiveness of English language teaching were provided.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/193116/134602
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1852
ISSN: 1905-2863 (Print)
2730-2296 (Online)
Appears in Collections:Liberal Arts - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
English-language.pdf76.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.