Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1859
Title: ศึกษาเปรียบเทียบประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋ว: กรณีศึกษา ย่านเยาวราช ประเทศไทย และจังหวัดกิ๊กเอี๊ย มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: Comparative study on annual traditions of Teochew people's : Case study Yaowarat, Thailand and Jieyang, Guangdong Province, People’s Republic of China
Authors: Lin, Shiya
อิมธิรา อ่อนคำ
Imthira Onkam
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts. Student of Master of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: แต้จิ๋ว -- ไทย (เยาวราช)
Teochew (Chinese people) -- Thailand
แต้จิ๋ว -- จีน (กวางตุ้ง)
Teochew (Chinese people) -- China
เยาวราช (กรุงเทพฯ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
กิ๊กเอี๊ย (กวางตุ้ง) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2020
Citation: วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 15, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) : 28-45
Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋วในย่านเยาวราช และจังหวัดกิ๊กเอี๊ย สาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากการลงภาคสนามโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยผู้วิจัยจะสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหรือจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัวและตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดผลการวิจัย พบว่าประเพณีในรอบปีของชาวแต้จิ๋วทั้งสองประเทศประกอบไปด้วยประเพณีวงจรชีวิต มี 5 ประเพณี คือ ประเพณีการเกิด ประเพณีชุกฮวยฮึ้ง ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีแซยิด ประเพณีการตายและประเพณีตามเทศกาลมี 5 เทศกาล คือ ตรุษจีน เช็งเม้ง ไหว้บ๊ะจ่าง ไหว้พระจันทร์ และกินเจ นอกจากนี้มีวันสำคัญจากคติความเชื่อ 3 วัน คือ วันไหว้ศาลเจ้าตี่จู๋เอี๊ยะ ไหว้เจ้าแม่ม่าโจ้ว และไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งประเพณีที่มีความเหมือนกันคือยังคงมีการสืบทอดอยู่ในปัจจุบัน และที่แตกต่างกันคือ กลุ่มชาวจีนแต้จิ๋วที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย มีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสังคมไทยจึงมีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนของประเพณีบางส่วนและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประเพณีทั้งสองประเทศคือนโยบายภาครัฐ การย้ายถิ่น การแต่งงาน และวิทยาการสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม ชาวจีนแต้จิ๋วทั้งสองประเทศก็สามารถอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีต่าง ๆ เหล่านี้ได้จนถึงปัจจุบัน
This article has the purpose to compare the annual traditions of Teochew Chinese people in Yaowarat and Jieyang Province, People’s Republic of China. This research is a qualitative research that studies data from fieldwork by using participatory and non-participatory observation methods and in-dept interview. The researcher interviews for data collection from the sample group to get in-depth information and meet the research’s objectives. The research shows that the traditions Teochew Chinese people in both countries consist of the traditions related to life cycle which are the tradition about birth, Chuk Hui Heung traditions (coming of age traditions), marriage, sixtieth anniversary and death. There are five traditions according to festivals which are Chinese New Year festival, Qingming festival, Dragon Boat festival, Mid-autumn festival and Vegetarian festival. Inaddition, there are three important days from the Chinese mythology: the day of worship at Di Chu Ea Shrine, Mazu Shrine and ancestor's day. These traditions have the similarity that still pass on until the present day but the difference is that the Teochew Chinese people who have migrated to Thailand have adapted to Thai society. Therefore, some of the traditions have been modified. Moreover, the factors that change the traditions of both countries are government policy, migration, marriage and modern technology. However, Teochew Chinese people in both countries are able to preserve and inherit these traditions until present.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/243934/168467
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1859
ISSN: 1905-2863 (Print)
2730-2296 (Online)
Appears in Collections:Liberal Arts - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teochew-People.pdf88.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.