Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1867
Title: การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Bo District, Samutprakan Province
การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Authors: วุฒิพงษ์ ทองก้อน
พรรณศิริ แจ่มอรุณ
กชพร ขวัญทอง
WuthipongThongkon
Phansiri Jamaroon
Kodchaporn Kwanthong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Arts and Culture Center
Keywords: คลอง -- ไทย -- สมุทรปราการ
Canals -- Thailand -- Samut Prakan
หมู่บ้าน -- ไทย -- สมุทรปราการ
Villages --Thailand -- Samut Prakan
คติชนวิทยา
Folklore
บางบ่อ (สมุทรปราการ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Bangbo (Samut Prakan) -- Social life and customs
Issue Date: 2021
Citation: วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 16, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) : 1-15
Abstract: รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและศึกษาเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ผลจากการวิจัย พบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ พบว่ามีชื่อที่นำมาตั้งชื่อได้แก่ 1)ชื่อบุคคล/ชื่อพระราชทาน 2) ชื่อตามลักษณะภูมิประเทศ 3) ชื่อพืชพันธุ์ไม้ 4) ชื่อตามสัตว์หรือลักษณะอาการของสัตว์ที่พบมากในแหล่งนั้น 5) ชื่อตามขนาดหรือทิศทางของคลอง 6) ตั้งชื่อตามสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิม 7) ตั้งชื่อตามเครื่องใช้ไม้สอย 8) ตั้งชื่อตามความเชื่อหรือตำนาน 9) ตั้งชื่อตามถิ่นฐานดั้งเดิมของคนที่อยู่ในคลอง 10) ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ตามลำดับ บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งทำมาหากินและเส้นทางคมนาคมหลักก็ถูกลดความสำคัญลงอันเนื่องมาจากมีการตัดถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท คลองในปัจจุบันเป็นเพียงทางระบายน้ำเพื่อออกสู่ทะเล
This research aimed at the study of the history and some backgrounds of how to name the canals and villages along with them in Bangbo District, Samut Prakan Province. It also aimed at the study of the roles and the importance of the canals that have been changing from the past to the present. It is qualitative research emphasizing field work and documentation. Informal interviews with the elderly in the district, local scholars, community leaders, and the monks were used. Moreover, the study included the government documentation: semi-academic writings, local records, memorial pamphlets of some funerals and cremations, the maps of all canals in the past and the present time, and looking at the physical features of the canals and related places. There was an examination of all information using “Triangulation Techniques”. It was found that most of the canals and villages in Bangbo District, Samut Prakan Province were named by people in the areas using the names of some important people living in the canals or the unique features of the canals like the names of the plants in the areas, the sizes or the directions of the canals, the topography of the areas, the animals, the structures, the behaviors, the instruments, and the beliefs or legends, respectively, to help people easily remember them for convenient communication and good understanding. Later, the roles and importance of the canals from the past to the present have been changed according to the economic development of the country. The canals in the past were critically used as the original locations the community, economic areas for people to earn their living. The main communication have become the economic growth with business areas, industries, and new villages of newcomers along the roads with urbanization. The villages along the canals have been changed into semi-urban-rural societies. At present, the canals are the only waterway to the seas.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/247921/171138
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1867
ISSN: 1905-2863 (Print)
2730-2296 (Online)
Appears in Collections:Liberal Arts - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bangbo-Canals.pdf82.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.