Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1881
Title: ส่วนผสมน้ำยาป้องกันเลือดแข็งกับน้ำยาต้านเกล็ดเลือดที่เสนอให้ใช้ในการศึกษาการกระตุ้นเกล็ดเลือดตั้งแต่อยู่ในร่างกาย
Other Titles: A proposed composition of anti-coagulant and anti-platelet mixture for in vivo platelet activation studies
Authors: ยุทธนา หมั่นดี
สุวรรณา เสมศรี
ธฤต นาคสวัสดิ์
สิงห์คำ ธิมา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์
Keywords: เกล็ดเลือด
Blood platelet
โคลพิโดเกรล
Clopidogrel
ยาต้านเกล็ดเลือด
สารกันเลือดเป็นลิ่ม
Anticoagulants (Medicine)
Issue Date: 2004
Citation: วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 16,1-3 (มกราคม-ธันาวาคม 2547) : 78-86
Abstract: การถูกกระตุ้นของเกล็ดเลือดนิยมทำการศึกษาในโรคธาลัสซีเมีย มาลาเรีย และไข้เลือดออก ส่วนผสมของน้ำยาป้องกันเลือดแข็งกับน้ำยาต้านเกล็ดเลือดที่สามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในหลอดทดลองได้อย่างสมบูรณ์ มีความจำเป็นในการศึกษาการถูกกระตุ้นของเกล็ดเลือดตั้งแต่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าการถูกกระตุ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในหลอดทดลองภายหลังการเจาะเก็บเลือด โดยทั่วไปการศึกษาเกล็ดเลือดนิยมใช้ 0. 109 M tri-sodium citratc solution เป็นน้ำยาป้องกันเลือดแข็ง โดยใช้อัตราส่วนระหว่างน้ำยาต่อเลือดที่ 1:9 แต่ชนิดและความเข้มขันของยาต้านเกล็ดเลือดที่เหมาะสมที่จะใช้ผสมในน้ำยาดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและความเข้มข้นของยาต้านเกล็ดเลือดที่เหมาะสม ได้แก่ aspirin, dipyridamole, prostaglandin E2, caffeinc, theophylline และ sodium azide โดยใช้ phosphaic buffer saline (PBS) pH 7.3 เป็นตัวทำละลาย หลังจากอุ่นตัวอย่างเกล็ดเลือดเข้มขันจากคนปกติกับน้ำยาต้านเกล็ดเลือดทั้ง 6 ชนิด ในความเข้มขันต่างๆ กัน 5 ระดับ พบว่า aspirin, caffeine, theophylline และ sodium azide ที่มีความเข้มขันสุดท้ายต่ำที่สุดเป็น 8.3, 3.2, 1.7 และ 1.5 mM ตามลำดับ สามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อทดสอบโดย optical platclet aggregometer ที่ใช้ plaicict rich plasma (PRP) เป็นตัวทดสอบ และใช้ epinephrine เป็นสารกระตุ้น ในขณะที่ dipyridamole และ prostaglandin E2 ในความเข้มข้นสุดท้ายสูงที่สุดเป็น 0.26 และ 0.38 m.M ตามลำดับ ไม่สามารถยับยั้งได้ เมื่อเตรียมส่วนผสมของยาต้านเกล็ดเลือด 4 ชนิด คือ aspirin, caffeine, theophyllinc และ sodium azide ที่มีความเข้มข้น 83, 32, 17 และ 15 mM ที่ละลายใน 0.109 M tr-sodium citrate solution มาใช้เก็บตัวอย่างเลือดคนปกติ 10 ราย ในอัตราส่วน 1:9 เพื่อทดสอบการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดใน PRP พบว่า ส่วนผสมดังกล่าวสามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในหลอดทดลองได้อย่างสมบูรณ์ จึงเสนอให้ใช้ส่วนผสมดังกล่าวในการศึกษาการถูกกระตุ้นของเกล็ดเลือดตั้งแต่อยู่ในร่างกายต่อไป
Platelet activation is widely studied in thalassemia, malaria and Dengue hemorrhagic fever. Mixture of anti-coagulant and anti-platelet for complete inhibition of in vitro platelet aggregation is essential for in vivo platelet activation studies. Anti-coagulant used in general platelet study is 0.109 M tri-sodium citrate solution. The optimum ratio of anti-coagulant:blood is 1:9. However the concentration of anti-platelet to be added to the mixture is remained unclear. This study aims to search for suitable anti-platclets such as aspirin, dipyridamole, prostaglandin E2, caffeine, theophylline and sodium azide (NaN ), and their optimum concentrations using phosphatc buffer saline solution (PBS) pH 7.3 as solvent medium. Platelet aggrcgation on optical platelet aggregometer was tested after platelet rich plasma (PRP) from a normal person was incubaled with each anti-platelet solution in 5 various concentrations and epinephrine was added as an agonist. The results show that either 8.3 mM aspirin, 3.2 mM caffeine, 1.7 mM theophylline or 1.5 mM sodium azide inhibits in vitro platelet aggregation complctcly. Dipyridamole and prostaglandin E2 could not achieve the complcte inhibition at the highest uscd concentrations. A mixture of 4 anti-platelet drugs, consisted of 83 mM aspirin, 32 mM caffeine, 17 mM theophylline and 15 mM NaN, in 0.109 M tri-sodium citrale solution for a blood collection ratio of 1:9, was tested in 10 normal subjects. The mixturc had a complete inhibition of in vitro platelet aggrcgalion. As a result, this mixturc is proposed for in vivo platelet aggregation studies in general.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ams/article/view/66015/53956
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1881
ISSN: 2730-2008 (Online)
Appears in Collections:Medical Technology - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anticoagulants.pdf81.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.