Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorThanya Sanitwongse Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorกนิษฐา บุญยัง-
dc.contributor.authorKanittha Boonyoung-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-03-18T14:12:07Z-
dc.date.available2024-03-18T14:12:07Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1913-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541th
dc.description.abstractการทำสารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอกได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพคู่สมรส ช่วงอายุที่ต่างกัน จำนวนบุตร รายได้ของครอบครัว รายจ่ายของครอบครัว ระยะเวลาในการสมรส กับความพึงพอใจในชีวิตสมรส และเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตสมรส ได้แก่ ความสมานฉันท์ทางบทบาทต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส การสื่อสารระหว่างคู่สมรส ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต โดยศึกษาประชาชนน จำนวน 404 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1. คู่สมรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียงมีความสมานฉันท์ในครอบครัว สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และมีรายได้น้อยและไม่พอเพียง 2. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าชายและรับจ้างอิสระ มีการศึกษาสูง มีรายได้สูงและพอเพียง มีการสื่อสารในครอบครัวดีกว่าคู่สมรสที่มีอาชีพอื่น มีการศึกษาน้อยและมีรายได้น้อยไม่พอเพียง 3. คู่สมสรสที่มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้สูงและพอเพียง มีการศึกษาสูง แต่อยู่กินกับคู่สมรสไม่นาน มีความเป็นเพื่อนคู่ชีวิตสูงกว่าคู่สมรสอาชีพอื่น 4. คู่สมรสที่มีอาชีพค้าขายและรับจ้างอิสระมีรายได้สูง และพอเพียง มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสมากกว่าคู่สมรสจากอาชีพอื่น และมีรายได้น้อย ไม่พอเพียง5. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรสตามลำดับ คือ ความสมานฉันท์ทางบทบาท ความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต การสื่อสารระหว่างคู่สมรส มีความพอเพียงของรายได้ อาชีพแรงงานในภาคอื่นที่ไม่ใช่ภาคอุตสาหกรรม การมีบุตรและระดับการศึกษาข้อเสนอแนะ 1. กระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันการศึกษา ควรแทรกเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการดำเนินชีวิต พัฒนการรู้จักใช้ชีวิตร่วมกันในกลุ่มเพื่อน รู้จักการสร้างเสริมสามัคคี และแบ่งหน้าที่กันในกลุ่ม อันจะไปสู่การรู้จักบทบาทหน้าที่ในชีวิตคู่ต่อไป 2. วัดและบุคลากรทางศาสนา ควรส่งเสริมให้สมาชิกในแต่ละครอบครัวได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง การเดินทางสายกลางและการใช้หลักเหตุผล3. กระทรวงสาธารณสุข เช่น กรมสุขภาพจิต ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่คู่สมรส ในการวางแผนและการสร้างความสัมพันธ์ในชีวิตสมรส เพื่อให้คู่ชีวิตสมรสมีความสุขมากยิ่งขึ้นth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการสมรสth
dc.subjectMarriageth
dc.subjectคู่สมรสth
dc.subjectSpousesth
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลth
dc.subjectInterpersonal relationsth
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษกับสตรีth
dc.subjectMan-woman relationshipsth
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตสมรส : ศึกษากรณีประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeFactors Effecting Satisfaction in Marriage Lives : A Case Study on People in Samutprakarn Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanitta-Boonyung.pdf
  Restricted Access
10.19 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.