Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1926
Title: ทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษาบริษัทวอล์คเกอร์ เอ็กซอสท์ (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Attitude and Safety Behavior of Automotive Part Industrial : A Case Study of Walker Exhaust (Thailand) Co., Ltd.
Authors: พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์
กฤษฎาพร บริกุล
Keywords: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- ลูกจ้าง
Automobile supplies industry -- Employees.
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
Industrial safety
อาชีวอนามัย
Industrial hygiene
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท วอล์คเกอร์ เอ็กซอสท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท วอล์คเกอร์ เอ็กซอสท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 115 คน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา เช่น ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานไคสแควร์ พบว่าการศึกษาลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 98.3 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 57 ส่วนใหญ่ทำงานแผนกผลิตคิดเป็นร้อยละ 62.6 ส่วนใหญ่มีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.8 ส่วนใหญ่ทำงานเป็นกะคิดเป็นร้อยละ 58.3 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปวส./อนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 36.5 และส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 57.4 จากการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยกระตุ้น พบว่าปัจจัยกระตุ้นด้านการได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ มีการอบรมชี้บ่งจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้เครื่องจักร ค่าเฉลี่ย 3.59 มีปัจจัยกระตุ้นด้านการควบคุมดูแลทางด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี ได้แก่ บริษัทมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยต่างๆ จากการทำงาน ค่าเฉลี่ย 4.02 ปัจจัยกระตุ้นด้านการได้รับการสนับสนุนทางด้านความปลอดภัยจากองค์กรอยู่ในระดับดี ได้แก่ บริษัทสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และเปลี่ยนได้ทันทีเมื่อชำรุด ค่าเฉลี่ย 4.27 ปัจจัยกระตุ้น
Description: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2553
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1926
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kritsaporn-Borikul.pdf12.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.