Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1929
Title: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้วยการศึกษาและสื่อสารอัตลักษณ์ของชุมชน: กรณีศึกษาวัดบัวโรย อ.บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Community Tourism Development by Identity Study and Publicizing: A Case Study of Bua-roi Temple, ฺ Bangsaothong District, Samutprakan Province
Authors: จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์
Keywords: การท่องเที่ยวโดยชุมชน
การท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Travel -- Citizen participation
ชุมชนวัดบัวโรย (สมุทรปราการ) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Bua-roi Temple (Samut Prakarn) $x Description and travel
อัตลักษณ์
Identity (Philosophical concept)
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนด้วยการศึกษาและสื่อสารอัตลักษณ์ของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนวัดบัวโรย เป็นการวิจัยปฏิบัติการเชิงเทคนิค (Technical Action Research)ที่ดำเนินการโดยนักวิจัยภายนอก (outside) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ 1) เพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจตรงกันถึงลักษณะเด่นหรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง 2)เพื่อสื่อสารลักษณะเด่นหรืออัตลักษณ์สำคัญของแหล่งท่องเที่ยว ให้แก่พื้นที่และบุคคลทั่วไป ด้วยการสร้างช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อบุคคลและช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าและความภาคภูมิใจให้แก่คนในพื้นที่เป็นลำดับแรก แล้วจึงขยายไปสู่การแสวงหาแนวทางต่างๆ ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระยะต่อไปผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยววัดบัวโรยการศึกษาอัตลักษณ์สำคัญด้าน ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดบัวโรย ประกอบด้วย 1) พระอุโบสถเก่าแก่ที่เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 4-5 ภายในมีพระประธานคือหลวงพ่อภูศรี หล่อด้วยโลหะทองเหลืองปางมารวิชัยด้านหน้าพระอุโบสถ 2 ข้าง มีต้นสะดือขนาดใหญ่ 2 ต้น ซึ่งถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่คู่กับวัดบัวโรยมาช้านาน 2) มหาเจดีย์ศรีบัวโรย ที่ทาด้วยสีทองเหลืองอร่าม สร้างขึ้นใหม่เมื่อปีพ.ศ. 2557 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระนามว่า "หลวงพ่อเพชร" ซึ่งมีพุทธลักษณะเป็นปางจงกรม จีวรลาย ดอกพิกุลและเป็นปางที่ไม่ปรากฏในพื้นที่อื่น 3) พิพิธภัณฑ์ ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ 2552 เป็นสถานที่รวบรวมศิลปวัตถุของวัดและของชุมชน อาทิเช่น คัมภีร์ใบลาน ตู้พระธรรมเก่า อุปกรณ์เครื่องใช้ในการดำรงชีวิตและ 4) ประวัติเจ้าอาวาสวัดบัวโรยทั้งหมด 7 รูปรวมรูปปัจจุบัน ล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไป และมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประวัติศาสตร์ 2) ด้านคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์หรือความงาม (Aesthetic Significance) คือความเป็นวัดเก่าแก่กาสร้างมานานกว่า133 ปี 3) อัตลักษณ์ด้านคุณค่าทางสังคม (Social Significance) ที่มีการดำเนินการเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมจิตอาสาที่ทางวัดมีการออกเยี่ยมเยียนและมอบสิ่งของให้กับคนเฒ่าคนแก่ ผู้ป่วยติดเตียง พร้อมกับแสดงธรรมแก่ญาติโยมไปพร้อมกัน และ 4) อัตลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งเป็นพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการที่ยังคงพบว่ามีการทำนาอยู่เป็นพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดส่วนรูปแบบหรือช่องทางการสื่อสาร ได้ดำเนินการผ่านหลายช่องทาง ทั้งการการจัดทำสื่อวิดีทัศน์นำเสนอสู่สาธารณะผ่านช่องทางออนไลน์ จัดทำสื่อแผ่นป้ายไวนิลสื่อความหมายติดตั้งตามสถานที่สำคัญๆ โดยสร้าง qr code ไว้บนแผ่นป้ายไวนิล เพื่อให้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ การสาธิตการนำชม รวมถึงการการพัฒนาผู้นำชมที่เป็นบุคคลในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ในแหล่งท่องเที่ยวของตน ทั้งการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับบุคคลในพื้นที่ให้แก่ครูและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของยุวมัคคุเทศก์ ให้แก่นักเรียนชั้นป. 5โรงเรียนวัดบัวโรยไปควบคู่กัน
This research is a technical action research aiming to promote the long term development of the community. Researchers were from outside of the studied area. Two major objectives of the research were: 1) to sort out identities as a tourist attraction of the studied area and to acknowledge them to stakeholders. 2) To publicize the found identities through various channels for creating awareness and pride among members of the community and all public for continuous development of the studied area as a longerm tourist attraction. For significant identities as a tourist attraction of Bua-roi Temple, four aspects were found, as the following. 1) The ancient temple hall, portraying Rattanakosin aesthetic favorable in the reigns of King Rama IV to V, presided by Luang-por Phu-sri - a brass molded Mara-wichai Buddha statue. Two grown sacred trees, Sa-due, anciently stood infront of the hall. 2) The golden painted Sri Bua-roi pagoda, built in 2014, presided by the sacred Luang-por Phet, a unique walking-gestured Buddha statue with special pattern robe. 3) The temple museum, founded in 2009, presented artifacts of the temple and the community, like Bai-lan scriptures; ancient chests for storing Buddhist scriptures; and utensils for living. 4) Biographies of the temple abbot, from the first to the current seventh, as local spiritual leaders. The found identities could be sorted into four areas, including1) local history, for 133 year-long as the age of the temple; 2) aesthetic, particularly Buddhist-related; 3) social aspect, including Buddhist and voluntary activities, emphasizing on elders and sick people in the community; and 4) environment, maintaining the rich nature; biodiversity; and the last plantation of rice in Samutprakarn. For publicizing the found identities to the public, various channels and media were used, including up-loading online videos on social media; spreading vinyl posters containing QR Code for scanning for further information; training of tour guides with the found identities for effective publicizing; training of English language usage to teachers and officers of Sub-district Administrative Organization; and training of Thai language usage to Pratom Five students of Bua-roi Temple as junior tour guides.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1929
Appears in Collections:Liberal Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariyawat-Lohapoontrakool.pdf7.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.