Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1932
Title: | แนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของยุวมัคคุเทศก์ เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบัวโรย |
Other Titles: | Development of Thai Language Skills of Youth Guides for Identity and Meaning Communications to Promote Cultural Tourism : A Case Study of Wat Bua Roi School |
Authors: | นริศรา เกตวัลห์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะศิลปศาสตร์ |
Keywords: | โรงเรียนวัดบัวโรย Wat Bua Roi School ภาษาไทย -- การใช้ภาษา Thai language -- Usage การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Heritage tourism มัคคุเทศก์ Tour guides (Persons) อัตลักษณ์ Identity (Philosophical concept) |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของยุวมัคคุเทศก์ เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบัวโรย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อมุ่งศึกษาการสร้างหลักสูตรสำหรับฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยให้แก่ยุวมัคคุเทศก์ให้สื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยให้แก่ยุวมัคคุเทศก์ในการสื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของ ยุวมัคคุเทศก์ ในการสื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้การอบรม แบบทดสอบ ฝึกปฏิบัติ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ โดยฝึกอบรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดบัวโรย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน เนื่องจากวัดบัวโรยยังขาดการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง และขาดบุคลากรด้านการนำเที่ยวชมสถานที่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว ผลการศึกษาวิจัย พบว่าหลักสูตรสำหรับฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยให้แก่ยุวมัคคุเทศก์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดบัวโรย ประกอบด้วยทักษะการใช้ภาษาไทยด้านการนำเสนอ หลักมัคคุเทศก์เบื้องต้น และความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของวัดบัวโรย ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม มีความสนใจ ตั้งใจในการเรียนรู้ ตั้งใจฝึกฝน เมื่อฝึกอบรมจนครบตามระยะเวลาที่กำหนด พบว่า มีพัฒนาการด้านทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการนำเสนอ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผู้เข้ารับการอบรมยังมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร ค่าเฉลี่ยที่ 4.82 ในระดับมากที่สุด The research title of the Development of Thai Language Skills of Youth Guides for Identity and Meaning Communications to Promote Cultural Tourism : A Case Study of Wat Bua Roi School, was the Quantitative and Qualitative Research. The objectives were; 1) to create the Thai Language Skills Development Course of Youth Guide for identity communications and to promote cultural tourism; 2) to study for the achievement and proposed pattern by using various kind of methods: training, tests, practical exercises and the achievement forms. The course had been designed for 20 targeted participants from primary level, grade 5 of Wat Bua Roi School. Since there were many interesting tourist spots at Wat Bua Roi but lack of mass publicity and touring personnel to handle which were the important factors to promote cultural tourism. The results indicated that the course the Development of Thai Language Skills for Identity and Meaning Communications for Youth Guides to Promote Cultural Tourism for Wat Bua Roi students was consisting of presentation skills in Thai Language, introductory tourist guide, and specific identities knowledges of Wat Bua Roi. The findings also showed that all participants paid high attention and good participation to the training. They were full of energy to learn and practice throughout the course. The achievement of the result showed their higher development in their presentation skills with a significant statistical level at .05. Besides, the participants had highest satisfactory upon the course. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1932 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narissara-Ketawan.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.