Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1935
Title: การศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง vertebral ส่วนที่ 3 และ 4 จากร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทย
Other Titles: Histological Study of the Third and Fourth Parts of Vertebral Artery in Thai Embalmed Cadavers
Authors: ภาสินี สงวนสิทธิ์
ระพีพันธุ์ ศิริเดช
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: หลอดเลือดแดง
Arteries
จุลกายวิภาคศาสตร์
Dissection
ศพ
Cadaver
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางจุลกายวิภาคของหลอดเลือดแดง vertebral (VA) ส่วนที่ 3 (V3) และส่วนที่ 4 (V4) จากร่างอาจารย์ใหญ่ชาวไทยจำนวน 20 ร่าง ตัวอย่างหลอดเลือดจากทั้งข้างขวาและซ้ายถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ proximal middle และ distal เตรียมชิ้นเนื้อด้วยวิธีมาตรฐาน และย้อมด้วยสีย้อม Hematoxylin and Eosin และสีย้อมพิเศษ Verhoeff-Van Gieson เพื่อศึกษาลักษณะทางจุลพยาธิภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงชนิดบันทึกภาพดิจิตอลและวัดความหนาของผนังหลอดเลือดด้วยโปรแกรม ImageJ ผลที่ได้พบว่าหลอดเลือด V3 มีขนาดเฉลี่ย 4.76±0.50 mm ใหญ่กว่าหลอดเลือด V4 ที่มีขนาดเฉลี่ย 3.90±0.60 mm อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของหลอดเลือดแดง V3 และ V4 ข้างซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าข้างขวา ความหนาของชั้น tunica intima (TI) ของ V3 และ V4 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ค่าเฉลี่ยความหนา 316.510 ± 193.684 μm และ 310.631 ± 217.799 μm ตามลาดับ ในขณะที่ความหนาของชั้น tunica media (TM) และ intimal-media thickness (IMT) ของ V3 และ V4 มีความแตกต่างทางสถิติที่ค่าเฉลี่ยความหนา TM ของ V3 และ V4 หนา 496.621 ± 99.148 μm และ 357.93 ± 97.532 μm ตามลาดับ และ IMT ของ V3 และ V4 หนา 813.13 ± 233.352 μm. และ 668.560 ± 279.098 μm. ตามลาดับ ใน segment ที่ต่างกันของ V3และ V4 นั้น พบพยาธิสภาพส่วนใหญ่อยู่ในส่วน distal ของ V3 และส่วน proximal ของ V4 เช่นเดียวกันกับค่าความหนา IMT ที่หนามากที่สุดในส่วน distal ของ V3 และส่วน proximal ของ V4
The present study examined the histological feature of the third and fourth parts of bilateral vertebral artery (VA) in 20 Thai embalmed cadavers. Both arteries were studied into proximal, middle and distal segments. Tissues were processed and were stained with hematoxylin and eosin and Verhoeff-Van Gieson. Stained slides were studied histopathology under the digital microscope and wall thickness was measured by the ImageJ program. The result found that the mean outer diameter of the third part (V3) of the VA was 4.76±0.50 mm and the fourth part (V4) was 3.90±0.60 mm, the difference is statistically significant. The mean outer diameter of V3 and V4 was more in the left side artery. Tunica intima (TI) thickness is not significantly different in V3 and V4 as the mean thickness were 316.510 ± 193.684 μm and 310.631 ± 217.799 μm respectively. Whereas tunica media (TM) and intima-media thickness (IMT) is significantly different in V3 and V4 as the mean TM thickness of V3 and V4 were 496.621 ± 99.148 μm and 357.93 ± 97.532 μm respectively and the mean IMT of V3 and V4 were 813.13 ± 233.352 μm and 668.560 ± 279.098 μm respectively. In the different segments of the artery, the pathologies are mostly located in the distal segment of V3 and the proximal segment of V4. The average IMT value of the distal segment of V3 and the proximal segment of V4 was the thickest too.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1935
Appears in Collections:Science and Technology - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pasinee-Sanguansit.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.