Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1952
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการป้องกันโรคโควิด-19 ระบาดแบบยกครัวของประชาชนในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
Other Titles: Factors Affecting the Ability to Prevent COVID-19 spread within the whole family of People within Provinces which Controlled the Highest and Strictest Pandemic
Authors: อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์
วาสนา ศิลางาม
อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์
ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม
Umarat Sirijaroonwong
Wasana Silangam
Ananya Popradit
Punpaphatporn Bunprom
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. College of Innovative Management
Siam Technology College. Faculty of Health Science
Keywords: โควิด-19 (โรค) -- การป้องกัน
COVID-19 (Disease) -- Prevention
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
COVID-19 Pandemic, 2020-
ความรอบรู้ทางสุขภาพ
Health literacy
Issue Date: 2022
Citation: วารสาร มฉก. วิชาการ 26,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565) : 275-288
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบบยกครัวของประชาชนในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อยู่ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ปราจีนบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 579 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลลักษณะบุคคลและครอบครัว ข้อมูลลักษณะกายภาพของบ้านหรือที่พักอาศัย ความรอบรู้ด้านสุขภาพและความสามารถในการดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบบยกครัวของผู้ดูแลทำความสะอาดบ้าน และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของผู้ออกทำงานนอกบ้านทุกวัน แบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.72-0.95 ดำเนินการศึกษาในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่าสภาพการเอื้อของลักษณะกายภาพของบ้านหรือที่พักอาศัยต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ภายในบ้านอยู่ในระดับมาก (Mean= 7.10, SD= 1.46) กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แบบยกครัว และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของผู้ออกทำงานนอกบ้านทุกวัน อยู่ในระดับมาก (Mean= 4.25, 4.25 และ 4.44 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม มี 2 ปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของผู้ออกทำงานนอกบ้านทุกวัน (X1) และความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (X2) ที่สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 65.90 (Adjusted R2 = 0.659 , p = 0.001) โดยมีสมการทำนายความสามารถดูแลบ้านไม่ให้ติดเชื้อโควิคแบบยกครัว = -0.222+ 0.0.509X1+0.520X2
The objective of this study was to study the factors influencing the home sanitation ability to prevent the spread of 2019 coronavirus in people’s home in the highest and strictest controlled provinces. The sample was the population that is located in 5 provinces, namely Saraburi Samutprakan, Chonburi, Prachinburi and Songkhla, with a total of 579 people. The research tool was a questionnaire consisting of 5 parts: personal and family characteristics, the physical characteristics of the home or residence, the health literacy and the home sanitation ability to prevent the spread of 2019 coronavirus in home by a housekeeper and the preventive behaviors of respiratory infections of those who work outside the home every day. The questionnaire was of content validity with the item-objective congruence (IOC) of 0.67-1.00 and Cronbach's alpha coefficient of 0.72-0.95. The study was conducted in September 2021-February 2022. Data were analyzed using Pearson correlation and stepwise multiple regression. The results indicated that the conducive conditions of the physical characteristics of the home or residence for the prevention of infection with 2019 coronavirus in the home were at a high level (Mean = 7.10, SD = 1.46). The sample group had a high level of evaluation in the health knowledge at a high level, the ability to keep the home safe from 2019 coronavirus infection within the family and prevention behaviors for respiratory infections of family members who go out to work. (Means = 4.25, 4.25 and 4.44 respectively). However, there are two factors namely the preventive behaviors of respiratory infections of those who go out to work (X1) and the ability to keep the home safe from 2019 coronavirus infection within the family (X2), which can predict together the home sanitation ability to prevent the spread of 2019 coronavirus equal a percentage of 65.90. The equation predicting the home sanitation ability to prevent the spread of 2019 coronavirus in people’s home = -0.222+ 0.0.509X1+0.520X2
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/255117/175618
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1952
ISSN: 0859-9343 (Print)
2651-1398 (Online)
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
COVID-19.pdf92.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.