Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1980
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงาน กับผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ |
Other Titles: | A Comparative Study of Problems, Barriers and Needs of the Disabled Working in an Organizarions and Self-employed |
Authors: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn กัลปังหา หงส์ทอง Kalaphangha Hongsthong Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | คนพิการ People with disabilities คนพิการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. People with disabilities -- Law and legislation คนพิการ -- การจ้างงาน People with disabilities -- Employment คนพิการ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ People with disabilities -- Rehabilitation |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเปรียบเทียบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงานกับผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดของผู้พิการในการประกอบอาชีพ ศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการในการประกอบอาชีพของผู้พิการที่มีอาชีพในหน่วยงานและอาชีพอิสระ แนวทางในการส่งเสริมให้ผู้พิการมีอาชีพที่มั่นคงและเหมาะสมกับความพิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้พิการที่ทำงานประจำในหน่วยงาน จำนวน 10 คน เพศชาย 5 คน เพศหญิง 5 คน มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 3,000-6,000 บาทและผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 10 คน เพศชาย 6 คน เพศหญิง 4 คน มีอายุระหว่าง 25-45 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว จบการศึกษาระดับประถม มีรายได้ระหว่าง 6,000-8,000 บาท ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ แนวคิดของผู้พิการทั้ง 2 กลุ่มต่อการประกอบอาชีพ คือ ต้องการให้สังคมได้ตระหนัก รับรู้ ยอมรับในตัวผู้พิการว่า สามารถทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ต้องการพึ่งพาตนเองมากกว่าขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งให้โอกาแก่ผู้พิการในการทำงานเพื่อแสดงศักยภาพที่มีอยู่ให้สังคมยอมรับ รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัญหา อุปสรรค และความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงาน คือ ปัญหาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ทั่วถึง ไม่มีความมั่นคง ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ ปัญหาการยอมรับปรับตัวกับผู้ร่วมงาน และด้านการศึกษาที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระ จะประสบปัญหาเรื่องเงินทุนที่ใช้ในการหมุนเวียน ไม่เพียงพอ ไม่มีแหล่งตลาด การศึกษาโดยเฉพาะด้านวิชาชีพที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และไม่มีความมั่นคงในอาชีพ จากปัญหาและอุปสรรคที่ผู้พิการทั้ง 2 กลุ่มประสบ ผู้พิการต้องการให้สังคมเปิดโอกาสในการทำงานกับผู้พิการมากขึ้น ยอมรับ มีความเข้าใจในความพิการ และให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสม รวมทั้งให้สังคมเปิดกว้างในการศึกษาของผู้พิการอย่างครอบคลุม และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมและทั่วถึง ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 คือ แนวทางการส่งเสริมอาชีพของผู้พิการ จากทัศนะผู้พิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ควรให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ อย่างครอบคลุม และมีการทำงานเป็นเครือข่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถโดยสาร ทางลาด ห้องน้ำ ฯลฯ ในที่สาธารณะอย่างทั่วถึง มีการปรับทักษะด้านฝีมือแรงงานแก่ผู้พิการ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้พิการในรูปของกลุ่มอาชีพ สหกรณ์ องค์กรคนพิการให้มีความเข้มแข็ง เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพของผู้พิการต่อไป การทดสอบสมมติฐานที่ผู้ศึกษาได้ตั้งไว้ ผลการศึกษายอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในเรื่อง สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ส่งผลต่อปัญหาและความต้องการของผู้พิการที่ประกอบอาชีพในหน่วยงานและอาชีพอิสระ ผู้พิการที่ประกอบอาชีพอิสระไม่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากสังคม และประเภทความพิการเป็นอุปสรรคต่อการเข้าทำงานในสถานประกอบการ สำหรับผลการศึกษาที่ปฏิเสธสมมติฐาน คือ คนพิการที่ทำงานประจำไม่มีปัญหาด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในระดับนโยบายคือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ควรมีบทบาทในการจัดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้ง 4 ด้านให้ครอบคลุม จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะต่างๆ อย่างทั่วถึง รณรงค์ส่งเสริม เผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมต่อผู้พิการอย่างถูกต้อง ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้พิการเพื่อให้ผู้พิการมีส่วนร่วมมากขึ้น ในระดับปฏิบัติการ คือ พัฒนาหลักสูตรวิชาชีพให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จัดการศึกษาในลักษณะการเรียนร่วมกับคนปกติในโรงเรียน ฝึกอบรม เพิ่มทักษะวิชาชีพ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทางสังคมในรูปขององค์กร กลุ่มวิชาชีพ เพื่อปรับทักษะทางสังคมของผู้พิการ และสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาปัญหา อุปสรรค ในงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพของผู้พิการทุกประเภท ทั้งในส่วนภูมิภาคและชุมชนต่างๆ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จด้านอาชีพของผู้พิการ และงานฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพของผู้พิการในลักษณะสหวิชาชีพ |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1980 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kulapungha-Hongthong.pdf Restricted Access | 27.77 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.